Page 5 -
P. 5

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                                                            บทที่ 1

                                              ประวัติความเปนมาของเซลลพันธุศาสตร

                                                    (History of Cytogenetics)



                     1.1 คํานํา



                               เซลลพันธุศาสตร  (cytogenetics) วิวัฒนาการมาจากวิทยาศาสตร 2 สาขา คือ เซลลวิทยา
                     (cytology) และพันธุศาสตร (genetics) เซลลพันธุศาสตรเปนวิชาที่เกี่ยวของกับการศึกษาการถายทอด

                     ลักษณะของสิ่งมีชีวิตโดยอาศัยวิธีการทางเซลลวิทยาและพันธุศาสตร  วิชานี้จะอธิบายถึงโครงสราง

                     จํานวน หนาที่ และการเคลื่อนยายของโครโมโซม (chromosome) ความแปรปรวนในคุณสมบัติตาง ๆ
                     ของโครโมโซมที่เกี่ยวของกับการถายทอด  (transmission)  การรวมตัว  (recombination)  และการ

                     แสดงออก (expression) ของยีน (gene) นอกจากนั้นวิชานี้ยังกลาวถึงการถายทอดลักษณะที่ถูกควบคุม

                     โดยออกาเนลล (organelle) ตาง ๆ ที่อยูภายนอกโครโมโซม (extra-chromosomal inheritance) หรืออยู
                     ในไซโตพลาสซึม (cytoplasm) ของเซลล เชน พลาสติด ไมโตคอนเดรีย และ พลาสมิด เปนตน


                     1.2 ประวัติความเปนมา



                               ประวัติความเปนมาของเซลลพันธุศาสตรไดเริ่มขึ้นในราวศตวรรษที่ 17 (1591-1608) เมื่อ

                     Johannes  Sacchariassen  และ  Zacharias  Jenssen  ชางทําเลนสแวนตาชาวดัชทไดประดิษฐกลอง
                     จุลทรรศน (compound microscope) ขึ้นเปนกลองแรก โดยใชเลนสเวา 2 อันประกบกัน ถึงแมวากลอง

                     จุลทรรศนกลองแรกจะมีกําลังขยายไมเกิน  10  เทา  แตก็เปนจุดเริ่มตนที่ทําใหวิชาเซลลพันธุศาสตร

                     พัฒนาไปอยางรวดเร็ว  ความกาวหนาของวิชาเซลลพันธุศาสตรหลังจากการคนพบกลองจุลทรรศน
                     สามารถแบงออกไดเปน 3 ระยะ คือ

                        1.2.1  ระยะของการศึกษาเกี่ยวกับเซลล

                                   1665                   Hooke คนพบเซลลจากการสองดูเนื้อเยื่อไมคอรก (cork)
                                                          ดวยกลองจุลทรรศน

                                   1828                   Brown คนพบนิวเคลียสเปนองคประกอบอยางหนึ่งของ
                                                          เซลล และมีตําแหนงอยูตรงกลางเซลล
                                   1838                   Schleiden และ Schwann ตั้งทฤษฎีเซลล (cell theory)  ซึ่ง

                                                          กลาววา สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบดวยเซลลและผลิตภัณฑ
                                                          ของเซลล
                                   1852-1853              Remark และ Virchow เสนอทฤษฎีการสืบเนื่องของเซลล

                                                          (theory of cell lineage)  ซึ่งกลาววา เซลลของสิ่งมีชีวิตมี
                                                          กําเนิดมาจากเซลลที่มีอยูกอน
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10