Page 97 -
P. 97
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
เขาและที่ราบสูง พันธุ์ไม้หลักของป่าประเภทนี้คือ สนสองใบ และสนสามใบ อาจจะพบพันธุ์ไม้อื่น ๆ ที่เป็นพันธุ์
ไม้เด่นในพื้นที่ด้วย คือ ป่าสนผสมก่อ (Oak Pine Sub-community) และป่าสนผสมเต็งรัง (Dipterocarp Pine
Sub-community) โดยป่าสนเขาผสมก่อนั้นจะมีพันธุ์ไม้จ าพวกก่อและไม้สนกระจัดกระจายโดยทั่วไป ส่วนป่าสน
ผสมเต็งรังนั้น จะมีโครงสร้างป่าคล้ายคลึงกับป่าเต็งรัง แต่มีไม้สนปรากฏเป็นเรือนยอดไม้ ระดับไม้เด่นในพื้นที่
กระจัดกระจาย ทั่วไปด้วย ป่าสนเขาที่มีลักษณะเด่นในประเทศไทย เช่น ภูกระดึง ภูหลวงจังหวัดเลย ภูสอยดาว
จังหวัด อุตรดิตถ์ และทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น
2) ป่าผลัดใบ (Deciduous Forest)
2.1) ป่าเบญจพรรณ ป่าผสมผลัดใบ (Mixed Deciduous Forest) เป็นป่าผลัดใบที่มีพันธุ์
ไม้หลายชนิดขึ้นปะปนกันเป็นไม้เด่นในพื้นที่ลักษณะโดยทั่วไปของป่าเบญจพรรณ มักเป็นป่าโปร่ง ดินเป็นดิน
ร่วนลึกและอาจจะมีหินโผล่เป็นแห่ง ๆ ระดับความสูงของพื้นที่ป่าเบญจพรรณอยู่ระหว่าง 50-800 เมตรเหนือ
ระดับน้ าทะเลปานกลาง ปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยรายปีต่ ากว่า 1,600 มิลลิเมตรต่อปี และมีการแบ่งฤดูกาลเป็น 3 ฤดู
อย่างชัดเจน โดยมีช่วงแห้งแล้งนานกว่า 3 เดือนในแต่ละปี ซึ่งท าให้พื้นที่ที่ภูมิอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง พันธุ์ไม้จึง
ต้องปรับตัวด้วยการผลัดใบทิ้งในช่วงฤดูแล้ง ส าหรับประเทศไทยนั้นป่าเบญจพรรณ พบกระจัดกระจายทั่วไปใน
แทบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้
2.2) ป่าเต็งรัง ป่าแพะ ป่าโคก ป่าแดง (Deciduous Dipterocarp Forest) เป็นป่าผลัด
ใบที่มีองค์ประกอบของพันธุ์ไม้ 3 ระดับชั้น โดยขึ้นกระจัดกระจายสลับไปกับป่าเบญจพรรณ ที่ระดับความสูง
เหนือระดับน้ าทะเลปานกลาง ระหว่าง 100-1,000 เมตร แพร่กระจายตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีไปตามเทือกเขาด้าน
ทิศตะวันตกของประเทศไปจนถึงจังหวัดเชียงราย แต่มีการแพร่กระจายมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือใน
บริเวณที่ราบสูงและที่ภูเขาสูง ดินเป็นดินทรายและดินลูกรังมีสีค่อนข้างแดงและมีลักษณะแห้งแล้ง พันธุ์ไม้
ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง พื้นป่าไม่รกทึบ แต่จะมีพันธุ์ไม้จ าพวกหญ้าชนิดต่างๆ พันธุ์ไม้เด่นในพื้นที่ป่าเต็งรัง
ประกอบด้วย เต็ง รัง เหียง พลวง ยาง เป็นต้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบนิเวศภูเขาและสังคมป่าไม้ ได้แก่ เป็นแหล่งทรัพยากรและความ
หลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งต้นน้ าล าธาร เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เป็นแหล่งท่องเที่ยวและ
นันทนาการ เป็นแหล่งควบคุมสภาพภูมิอากาศ เป็นแหล่งควบคุมการพังทลายของดิน เป็นเครื่องมือในการพัฒนา
ชนบทและลดความยากจน และเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอน
ปัญหาที่พบในระบบนิเวศภูเขา คือ การท าลายพื้นที่ป่าบนภูเขาที่ส่งผลต่อความหลากหลาย
ทางชีวภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการกระท าของมนุษย์ โดยสามารถสรุปปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดังนี้ (ปานทิพย์, 2554)
1) การขยายตัวของชุมชนเมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เข้ามาในเขตภูเขา และมีการใช้
ประโยชน์โดยไม่ค านึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
2) โครงการก่อสร้างต่าง ๆ ที่รุกล้ าพื้นที่ป่าบนภูเขา เช่น การตัดถนน การสร้างเขื่อนขนาด
ใหญ่ การท าเหมืองแร่ เป็นต้น
5-5