Page 94 -
P. 94

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                รายงานฉบับสมบูรณ์   กันยายน
                                      โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                                                                                                 ๒๕๕๗
                       ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา


                   ตารางที่ 5-1  การกระจายตัวของแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขาในประเทศไทย

                                                           การกระจายตัวในภาคต่างๆ ของประเทศไทย

                       ที่ตั้งแหล่งภูเขา            ตะวันออก
                                          เหนือ                ตะวันออก    ตะวันตก     กลาง       ใต้      รวม
                                                    เฉียงเหนือ
                    อุทยานแห่งชาติ         76          76         16          7          -        31       206

                    อบต.                   232        192         75         66          -       124       689

                    อื่นๆ                  25          22         15          1         6         10        79
                    รวม                    333        290         106        74         6        165       974


                   หมายเหตุ อื่นๆ หมายถึง สวนรุกขชาติ  ส านักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ กรมศิลปากร และวัด เป็นต้น
                   ที่มา:  ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2548)


                          แหล่งธรรมชาติประเภทภูเขาที่ได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ พ.ศ. 2532
                   มีทั้งภูเขาหินปูน  ภูเขาหินแกรนิต  ภูเขาหินทราย   ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ  โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาค

                   ตะวันออกเฉียงเหนือ  แหล่งธรรมชาติประเภทภูเขานั้น นอกเหนือจากส่วนประกอบที่เป็นลักษณะธรณีสัณฐาน
                   แล้ว ยังประกอบด้วยระบบนิเวศที่มีความแตกต่างกันตามปัจจัยทางด้านกายภาพ ท าให้ปรากฏลักษณะทาง

                   ชีวภาพที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กันเป็นระบบนิเวศภูเขา เป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางชีวภาพ
                   และเป็นต้นก าเนิดของแม่น้ าส าคัญของประเทศ เช่น แม่น้ าปิง แม่น้ าน่าน แม่น้ าตาปี แม่น้ ามูล แม่น้ าชี เป็นต้น
                   การเสื่อมสภาพของระบบนิเวศภูเขาจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณและคุณภาพของน้ า ความมั่นคงทาง

                   อาหารและผลผลิตที่ได้จากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในระบบนิเวศภูเขา


                        5.1.2    ระบบทิวเขาของประเทศไทย

                                ทิวเขาของภาคเหนือ ประกอบด้วยทิวเขาต่างๆ รวม 4  ทิวเขา คือ ทิวเขาแดนลาว ทิวเขาถนน

                   ธงชัย ทิวเขาผีปันน้ าและทิวเขาหลวงพระบาง บางทิวเขามีแนวที่สลับซับซ้อน สามารถแบ่งเป็นทิวเขาย่อยๆ ได้

                   อีกหลายทิวเขา ภูเขาในภาคเหนือส่วนใหญ่เกิดจากการบีบอัดตัวของเปลือกโลกท าให้หินคดโก่งตัวขึ้น จัดเป็น

                   ประเภทที่เรียกว่า เขาที่เกิดจากการคดโค้งของหิน (Folded  mountain)  มียอดค่อนข้างสูง ในระดับตั้งแต่

                   1,200-2,000 เมตร
                                ทิวเขาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะภูมิประเทศแถบนี้มักเรียกว่า ที่ราบสูงโคราช

                   เนื่องจากมีทิวเขาโอบล้อมแอ่งที่ราบ ทิวเขาจะกั้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือออกจากภาคกลางและภาคตะวันออก

                   อย่างชัดเจน ส่วนที่เป็นทิวเขาประกอบด้วย ทิวเขาที่อยู่ทางตอนบนของภาค ได้แก่ ทิวเขาเพชรบูรณ์ตะวันออก

                   ทิวเขาดงพญาเย็น ทิวเขาสันก าแพง และทิวเขาพนมดงรัก มีลักษณะเป็นผาชันหรือผาตั้งในระดับความสูง







                                                             5-2
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99