Page 177 -
P. 177
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
เขาขนาบน้ าเป็นเขาหินปูนสองลูกสูงประมาณ 100 เมตร ขนาบแม่น้ ากระบี่ ถือเป็นสัญลักษณ์ของ
เมืองกระบี่ บริเวณนั้นมีป่าชายเลนและมีถ้ าถึง 7 ถ ้ำ โดยมีถ ้ำขนำดใหญ่ชื่อถ ้ำสิงโต หรือถ ้ำสิงห์ ที่เปิดให้
นักท่องเที่ยวเข้ำชมได้ ภายในถ้ ามีหินงอกหินย้อย และในอดีตสถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของค่ายทหารญี่ปุ่นสมัย
สงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญจากกรมทรัพยากรธรณีได้เปรียบเทียบรอยเซาะจากทะเลในถ้ าหลายแห่งบริเวณ
นั้นว่าอายุตรงกับสมัยไพลสโตซีนตอนกลาง ระหว่าง 6,000 - 5,000 ปี (กรมทรัพยากรธรณี, 2555) และในปี พ.ศ.
2522 ได้ท าการขุดหลุมทดลองเพื่อส ารวจทางโบราณคดี และพบหลักฐานซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นแหล่งที่เคยมีมนุษย์ก่อน
ประวัติศาสตร์อาศัยอยู่ก่อน
การเดินทางไปเขาขนาบน้ า หากเริ่มต้นจากจังหวัดกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง ได้แก่
โดยรถยนต์ส่วนตัวจากกรุงเทพฯ ใช้ได้ 2 เส้นทาง คือใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-
ชุมพร-ระนอง-พังงา-กระบี่ ระยะทาง 946 กิโลเมตร และใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ถึงจังหวัดชุมพร จากชุมพรใช้ทาง
หลวงหมายเลข 41 ผ่านอ าเภอหลังสวน อ าเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าอ าเภอเวียงสระ ใช้ทางหลวงหมายเลข
4035 ถึงอ าเภออ่าวลึก แล้ววกเข้าทางหลวงหมายเลข 4 อีกครั้งหนึ่ง ถึงจังหวัดกระบี่ ระยะทาง 814 กิโลเมตร
การเดินทางโดยรถโดยสารประจ าทางมีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศจากสถานีขนส่งสายใต้
ถนนบรมราชชนนีทุกวัน การเดินทางโดยรถไฟจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ มาลงที่สถานีรถไฟจังหวัดตรัง หรือสถานี
รถไฟทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จากนั้นต่อรถโดยสารหรือรถแท็กซี่รับจ้างเข้าจังหวัดกระบี่ และโดยเครื่องบิน
มีบริการเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-กระบี่ ทุกวัน เมื่อมาถึงจังหวัดกระบี่แล้วเดินทางต่อไปท่าเรือเจ้าฟ้าตั้งอยู่ที่ถนน
อุตรกิจ ริมเขื่อนท่าเทียบเรือขนาบน้ า แล้วโดยสารเรือหางยาวมีหลังคา ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าเรือ " หัวโทง " ซึ่งเป็น
เอกลักษณ์ของที่นี่ จากท่าเรือสะพานเจ้าฟ้าไปยังภูเขาซึ่งตั้งอยู่เบื้องหน้าลูกที่อยู่ทางขวามือใช้เวลาประมาณ 15 นาที
จากนั้นต้องขึ้นบันไดไปชมถ้ าซึ่งภายในมีหินงอกหินย้อยและมีการจัดป้ายสื่อความหมายเพื่อให้ข้อมูลและความรู้แก่
นักท่องเที่ยว ส่วนเขาอีกฟากฝั่งของล าน้ าอยู่ติดกับหน่วยพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 26 โดยป่าชายเลนรอบๆ
ยังมีสถานภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติอยู่ (ป่าเกาะกลาง) แต่ชุมชนต าบลคลองประสงค์ก็ท าหน้าที่อนุรักษ์ป่าชายเลน
เหล่านั้น เนื่องจากเห็นคุณค่าความส าคัญของป่าชายเลนต่อวิถีชีวิตประมงพื้นถิ่น และเป็นปราการป้องกัน
การกัดเซาะชายฝั่ง และคลื่นลมแรงอีกด้วย
7-4