Page 43 -
P. 43
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ให้ร่มเงาและลดความร้อนได้ดี โดยมีน้ าหนักเบาจากการใช้โครงเหล็กและตา
ข่ายสเตนเลส กระบะปลูกใช้ดินลึก 30 ซม. ในส่วนของแปลงปลูกผักจัดไว้ให้
ปลูกหมุนเวียนผักชนิดต่างๆ รวมทั้งข้าว บริเวณรอบๆติดราวกันตกจัดให้เป็น
ไม้พุ่มปลูกเป็นจังหวะสลับกับม้านั่งพักผ่อน กระถางปลูกต้นไม้ใหญ่ปานกลาง
เช่นกล้วย มะเฟือง เชอรี่เสปน จะถูกจัดวางไว้ใกล้ต าแหน่งเสาโครงสร้าง
แปลงปลูกผัก ออกแบบโดยใช้วัสดุน้ าหนักเบาได้แก่แผ่นไฟเบอร์
ซีเมนต์ ความหนา 1 ซม. ตัดตามความยาวที่ต้องการ แผ่นมาตรฐานขนาด
1.20 x 2.40 ม. เข้ามุมยึดด้วยฉาก ด้านในกรุด้วยผ้าจีโอเท็กซ์ไทล์ยึดกับขอบ
กระบะด้วยฉากอลูมิเนียม ก้นกระบะใช้แผงไข่พลาสติกแทนวัสดุชั้นระบายน้ า
รายละเอียดแสดงในบทที่ แปลงผักในยุคแรกมีการทดลองใช้แผ่นปลูกพืชบน
หลังคา ซึ่งมีความหนาเพียง 5 ซม. (พาสินี 2553) เป็นงานวิจัยซึ่งได้รับรางวัล
ผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี จากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ตั้งแต่ปีพ.ศ.
2555 ท าให้ลดน้ าหนักโครงสร้างไปได้มาก และสามารถปลูกพืชผักจากเมล็ด
ได้ โดยมีอัตราการเติบโตใกล้เคียงกับการปลูกบนดิน อย่างไรก็ดีมีการปลูกบน
ดินด้วยวิธีธรรมชาติด้วย
สวนผักแนวตั้งเป็นองค์ประกอบพิเศษอีกอันหนึ่งที่เกิดจากงานวิจัย
บล็อกปลูกต้นไม้แนวตั้ง (พาสินี 2553) พัฒนาจากบล็อกดินเผามาเป็นบล็อก
ซีเมนต์ผสมเถ้าลอย เพื่อให้รับน าหนักและก่อเป็นผนังได้ด้วย ได้รับรางวัลรอง
ชนะเลิศอันดับสอง จากรางวัลการออกแบบเชิงนวัตกรรม จากส านักงาน
นวัตกรรมแห่งชาติ ปี 2557 และได้รับการซื้อสิทธิ์ในการผลิตจากบริษัท
ปูนซีเมนต์นครหลวงจ ากัดมหาชน ตั้งแต่ ปี 2554 - 2558 บล็อกที่เหลือจาก
งานวิจัยทั้งหมดถูกรวบรวมก่อขึ้นเป็นผนังทิศตะวันตกซึ่งรับแดดเต็มที่ ช่วยลด
ความร้อนให้กับห้องที่อยู่ด้านในเป็นอย่างดี ผักที่ปลูกบนบล็อก ได้แก่ กะเพรา
โหระพา แมงลัก มะเขือ สะระแหน่ พริก ให้ผลผลิตจ านวนมาก
34