Page 7 -
P. 7
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทบรรณำธิกำร
ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และทำาการเกษตรบนพื้นที่ลาดชันนั้น
ในด้านหนึ่งกล่าวกันว่าเป็นแรงกดดันจากภาวะความยากจนและความเดือดร้อนจากการไม่มีที่ดินทำากิน
ของครัวเรือนเกษตร ในอีกด้านหนึ่งก็ก่อให้เกิดปัญหาหมอกควัน จากการเผาป่าและไร่ข้าวโพด อีกทั้ง
เป็นที่หวั่นเกรงกันว่าการสูญเสียพื้นที่ป่าอนุรักษ์ต้นนำ้าเป็นสาเหตุสำาคัญอันนำาไปสู่การเกิดภัยธรรมชาติ
ต่างๆ ทั้งจากการเกิดโคลนถล่ม การไหล่บ่าของนำ้าป่า และรวมถึงการเปลี่ยนแปลงในสภาวะแวดล้อม
ซึ่งสร้างผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม และเกรงว่าหากปล่อยให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไปมากกว่าสภาพ
ที่เป็นอยู่ จะนำามาซึ่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมในวงกว้าง
ท่ามกลางของภาวะวิกฤตที่เกิดจากการรุกพื้นที่ป่าต้นนำ้าในจังหวัดน่าน ไปพร้อมๆ กับการ
ขยายตัวของพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การศึกษาวิจัยของ ผศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน และ
ผศ.ดร.เขมรัฐ เถลิงศรี ในเอกสารเล่มนี้ได้พบว่ายังมีพื้นที่ชุมชนส่วนหนึ่งในจังหวัดน่าน ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลง
พื้นที่ของชุมชนสู่แนวทางของการอนุรักษ์พื้นที่ป่าอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ได้พบว่าเกษตรกรในชุมชน
ได้พร้อมใจรวมตัวกันในการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนที่ลาดชัน รวมถึงการคืนพื้นที่ที่เคยปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชันให้กลับเป็นพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นได้ ซึ่งเป็นแนวตัวอย่างที่น่าสนใจ
และควรแก่การบันทึกให้สังคมได้รับรู้
สำานักประสานงานชุดโครงการ “งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่ายงานวิจัย
เชิงนโยบาย” เห็นว่าการเผยแพร่ข้อมูลและข้อความรู้ที่สะท้อนถึงความสำาเร็จของชุมชนในการร่วมแรง
ร่วมใจกันในการพลิกฟื้นทำาให้พื้นที่ลาดชันได้กลับมาเป็นพื้นที่ป่าที่อนุรักษ์ จะเป็นประโยชน์และเป็นบท
เรียนรู้ที่ดีให้กับสังคมได้เห็นแนวทางการแก้ปัญหาและเป็นทางเลือกเชิงนโยบายเพื่อลดปัญหาความขัด
แย้งและนำาไปสู่การร่วมมือกันเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ป่าให้เกิดขึ้นกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสำานักงาน
ประสานชุดโครงการฯ ใคร่ขอขอบคุณ ผศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน และ ผศ.ดร.เขมรัฐ เถลิงศรี ที่ได้
เป็นผู้จัดทำาสังเคราะห์ข้อความรู้จากรายงานวิจัยขึ้นเป็นเอกสารวิชาการเล่มนี้ มา ณ โอกาสนี้
บรรณ�ธิก�ร
มกร�คม 2558