Page 4 -
P. 4
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ค�ำนิยม
สำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มีพันธกิจในการสนับสนุนทุนวิจัย การพัฒนานักวิจัย
การบริหารงานวิจัย และพัฒนาระบบวิจัยของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมฐาน
ความรู้ (Knowledge Based Society) ในทิศทางที่จะสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับประเทศ
เป้าหมายสำาคัญของ สกว. ในระยะต่อไป คือการพัฒนาการบริหารจัดการการวิจัยที่ก่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในระบบวิจัยได้อย่างกว้างขวาง ส่งเสริมให้เกิดการเติบโตและความแข็งแรงของระบบวิจัย
โดยใช้ทักษะการบริหารจัดการเพื่อสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง นำาไปใช้ประโยชน์ได้จริง และสามารถ
ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศได้
สำาหรับทศวรรษต่อไปของ สกว. การสังเคราะห์ความรู้จากผลงานวิจัยเป็นการบริหารจัดการ
ความรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่ สกว. ให้ความสำาคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการสังเคราะห์ความรู้เป็นทั้งกลไก
บูรณาการระหว่างงานวิจัยเรื่องต่างๆ สาขาต่างๆ และเป็นการยกระดับข้อค้นพบจากงานวิจัยภายใต้
ประเด็นวิจัยที่ให้ทุนสนับสนุน ให้เกิดความชัดเจนเพียงพอทั้งเพื่อการนำาไปใช้ต่อยอดงานวิจัยและการ
นำาไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ รวมถึงการจัดทำาข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ ตลอดจนการสร้าง
ผลกระทบให้เกิดขึ้นกับสังคมในแง่มุมที่หลากหลาย
เอกสารวิชาการเรื่อง “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก” เล่มนี้
เป็นผลงานของ ผศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน และ ผศ.ดร.เขมรัฐ เถลิงศรี จากคณะเศรษฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้นำาข้อความรู้จากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษามาตรการสร้างแรงจูงใจ
เพื่อลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชัน: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน” มาสังเคราะห์และเรียบเรียง
ขึ้นใหม่ โดยมีสำานักงานประสานงานชุดโครงการ “งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่าย
งานวิจัยเชิงนโยบาย” สถาบันคลังสมองของชาติ เป็นบรรณาธิการให้กับเอกสารวิชาการนี้ ซึ่ง สกว.
ขอแสดงความชื่นชมและขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
สกว. หวังว่าเนื้อหาจากงานสังเคราะห์ความรู้ “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า:
ปัญหาและทางออก” เล่มนี้จะนำาไปสู่การศึกษาต่อยอดการวิจัยและการใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้
เกิดการอนุรักษ์พื้นที่ป่าของชุมชน รวมถึงการสร้างมาตรการการจัดการทรัพยากรเชิงพื้นที่เพื่อลดปัญหา
ความขัดแย้งจากการบุกรุกพื้นที่ป่า พร้อมทั้งมีการแบ่งปันการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่เป็นธรรม
อันจะนำาไปสู่ความสำาเร็จของการอนุรักษ์ทรัพยากรเชิงพื้นที่ของชุมชนได้อย่างยั่งยืน
ศ�สตร�จ�รย์น�ยแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลม�ศ
ผู้อำานวยการสำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย