Page 5 -
P. 5
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ค�ำน�ำผู้เขียน
เมื่อประมาณ 5 ปีก่อนผู้เขียนได้รับโอกาสให้ศึกษาวิจัยในหัวข้อเรื่อง “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กลไก
สู่ความเหลื่อมลำ้าในระดับท้องถิ่น กรณีศึกษา: ห่วงโซ่การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ.เวียงสา จ.น่าน” เป็น
ส่วนหนึ่งของโครงการ “สู่สังคมเสมอหน้า การศึกษาโครงสร้างความมั่งคั่งและโครงสร้างอำานาจเพื่อการ
ปฏิรูป” (ได้รับการสนับสนุนจากสำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย โดยมี ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร เป็น
หัวหน้าโครงการ) โดยงานวิจัยดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์กลไกในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สร้างความ
เหลื่อมลำ้าในพื้นที่ ในช่วง 2 ปีที่ได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลโดยการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ประชาชน
และองค์กรต่างๆ ที่เข้าไปทำางานอยู่ในพื้นที่จังหวัดน่าน ทำาให้ผู้เขียนได้มีโอกาสเรียนรู้ถึงความซับซ้อน
และรุนแรงของปัญหาสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
โดยความจริงนั้น หลังจากจบโครงการวิจัยดังกล่าว ผู้เขียนรู้สึกท้อแท้และหมดหวังกับความ
พยายามในการหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากขนาดของพื้นที่ปัญหาที่ใหญ่โตและลุกลามไปมาก
เกษตรกรและผู้ ที่เกี่ยวข้องก็มีจำานวนมากมาย ประกอบกับกระแสจากธุรกิจปลายนำ้าที่พยายามผลักดัน
ให้มีการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นตามความต้องการที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเพิ่มความ
ซับซ้อนและรุนแรงของปัญหาดังกล่าว ทางออกในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งที่ดูมืดมนจนถึงขั้นเป็นไปไม่ได้
ในเวลาต่อมา ผู้เขียนได้มีโอกาสได้เข้าร่วมงานสัมมนาและไปศึกษาดูงานในด้านการอนุรักษ์ที่
หน่วยจัดการต้นนำ้ามีด อ.เชียงกลาง จ.น่าน จุดนี้เองที่ทำาให้ผู้เขียนได้เห็นถึงความพยายามในการแก้
ปัญหาจากจุดเล็กๆ และรับรู้ถึงความสำาเร็จที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจากการอนุรักษ์พื้นที่ป่าของชาว
บ้าน อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้เขียนได้พยายามถ่ายทอดเรื่องราวการดำาเนินงานที่ประสบความสำาเร็จในพื้นที่
ดังที่ได้พบเห็นมา ปรากฏว่าคนส่วนใหญ่กลับมองไม่เห็นถึงคุณค่าของการดำาเนินงานดังกล่าวนัก โดย
ส่วนใหญ่มองว่าเป็นความสำาเร็จที่เกิดขึ้นจากความบังเอิญและมีความจำาเพาะเจาะจงในพื้นที่เท่านั้น แม้
กระทั่งหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงหลายหน่วยงานก็ไม่ได้พยายามที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์
และความสำาเร็จนั้นเลย
นอกจากนี้ ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ผู้เขียนก็ได้มีโอกาสศึกษา พูดคุย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
ในการดำาเนินงานภายใต้โครงการปิดทองหลังพระฯ เพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งได้เห็นถึงความตั้งใจในการแก้ปัญหา
ในพื้นที่จากความร่วมมือกันของคนหลายฝ่าย แม้ว่าการดำาเนินงานในทั้ง 2 พื้นที่จะเป็นไปตามแนวทาง
ที่แตกต่างกันบ้าง แต่ต่างก็มีจุดหมายหลักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเช่นเดียวกัน
ในฐานะที่เป็นนักวิชาการ ผู้เขียนจึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะศึกษาบทเรียนการดำาเนินงานในทั้ง
2 พื้นที่ เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ที่จะสามารถนำาไปใช้ในการแก้ปัญหาการบุกรุกทำาลายพื้นที่ป่าไม้ที่เกิดขึ้น
ในพื้นที่อื่นๆ ได้ และนับเป็นความโชคดีที่ผู้เขียนได้รับโอกาสและการสนับสนุนจากสำานักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัยและสถาบันคลังสมองของชาติให้ศึกษาเรื่อง “การศึกษามาตรการสร้างแรงจูงใจเพื่อ
ลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชัน: กรณีศึกษา จังหวัดน่าน” และได้รับโอกาสให้เผยแพร่องค์
ความรู้ที่เกิดขึ้นในเอกสารเล่มนี้