Page 81 -
P. 81
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เกษตรศาสตร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นปีการกำาเนิดของโครงการปรับปรุงพันธุ์มัน
สำาปะหลังของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยศาสตราจารย์เจริญศักดิ์
โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร นำาเข้าเมล็ดพันธุ์มาจาก
CIAT เพื่อคัดเลือกในโครงการปรับปรุงพันธุ์ อีกส่วนหนึ่งของเมล็ดพันธุ์ที่
นำาเข้ามอบให้สาขาพืชหัว คัดเลือกที่สถานีทดลองพืชไร่ห้วยโป่ง ซึ่งปัจจุบัน
คือศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีความสำาเร็จในการ
ปรับปรุงพันธุ์มันสำาปะหลังที่สุดประเทศหนึ่งในโลก เพราะประเทศไทยมีการ
ประกาศพันธุ์ใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่
จากการคัดเลือกพันธุ์พื้นเมืองที่เกษตรกรใช้ปลูกกันโดยกรมวิชาการเกษตร
แล้วตั้งชื่อเป็นทางการว่าพันธุ์ระยอง 1 ในปี 2518 แล้วต่อมากรมวิชาการ
เกษตรได้แนะนำาพันธุ์ระยอง 3 ในปี 2526 แนะนำาพันธุ์ระยอง 60 ในปี
2530 และระยอง 90 ในปี 2534 นอกจากกรมวิชาการเกษตรแล้ว ในปี
2533 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้แนะนำามันสำาปะหลังพันธุ์ศรีราชา 1
ตามมาด้วยแนะนำาพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ในปี 2535 ซึ่งมีผลผลิตและ
ปริมาณแป้งสูงกว่าพันธุ์ระยอง 1 และผลผลิตน้ำาหนักแห้งสูงกว่าทุกพันธุ์ที่
มีอยู่ในขณะนั้น โดยให้ผลผลิตหัวสด ผลผลิตหัวแห้ง ผลผลิตแป้ง สูงกว่า
พันธุ์ระยอง 1 ประมาณร้อยละ 22 35 และ 53 ตามลำาดับ ในปีพ.ศ.
2537 กรมวิชาการเกษตรได้แนะนำามันสำาปะหลังพันธุ์ระยอง 5 แนะนำา
พันธุ์ระยอง 72 ในปี พ.ศ. 2542 ต่อมาเมื่อปี 2546 มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ได้แนะนำาพันธุ์ห้วยบง 60 ส่วนในปี 2548 กรมวิชาการเกษตร
ได้แนะนำาพันธุ์ระยอง 7 และระยอง 9 สำาหรับมันสำาปะหลังพันธุ์ล่าสุดที่
แนะนำาพันธุ์โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี 2551 คือ พันธุ์ห้วยบง 80
และในปี 2553 กรมวิชาการเกษตรก็ได้ประกาศพันธุ์ระยอง 11 นับตั้งแต่
การประกาศรับรองมันสำาปะหลังพันธุ์แรกของไทยคือพันธุ์ระยอง 1 ในปี
2518 จนถึงพันธุ์ล่าสุดของโครงการปรับปรุงพันธุ์มันสำาปะหลังของ
66