Page 78 -
P. 78

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                     จากการเกิดมันสำาปะหลังพันธุ์  “เกษตรศาสตร์  50”  ก่อให้เกิด

            ผลประโยชน์ที่มีต่อเกษตรกรดังนี้

                     1.) เกษตรกรมีรายได้ที่สูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตพันธุ์เกษตรศาสตร์
            50 สูง และขายได้ราคาสูงกว่าพันธุ์ดั้งเดิม หัวสดมีแป้งสูงกว่า

                     2.) สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้

                     3.) โรงงานแป้ง  และโรงงานมันเส้นมีต้นทุนการผลิตต่ำาลง
            เนื่องจากผลผลิตพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 มีแป้งและน้ำาหนักแห้ง สูงขึ้นทำาให้
            ปริมาณหัวเท่ากันนำามาผลิตได้แป้ง และมันเส้นมากขึ้น

                     4.) รักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินมากยิ่งขึ้น  เมื่อพันธุ์ใหม่ให้
            ผลผลิตสูง ถ้ามีการใส่ปุ๋ยประกอบ

                     5.) สามารถลดพื้นที่การปลูกลงได้แต่ปริมาณผลผลิตยังคงเท่าเดิม

                     ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 สถาบันอินทรีย์จันทร์สถิตมีการผลิตท่อน

            พันธุ์มันสำาปะหลังให้กับกรมส่งเสริมการเกษตร ทั้งสิ้น 750,000 ต้น แต่
            ผลิตจริงได้ 445,880 ต้น โดยท่อนพันธุ์ดังกล่าวกระจายไปอยู่ในเขตพื้นที่
            ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด ภาคตะวันออก 6 จังหวัด ท่อนพันธุ์

            มันสำาปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 กระจายไปในพื้นที่เกษตรกรในฤดูปลูก
            ปี พ.ศ. 2537 ประมาณ 1,400 ไร่ และในปี พ.ศ 2538 ขยายท่อนพันธุ์

            สู่แปลงเกษตรกรได้อีกประมาณ 13,000 ไร่

                     การกระจายพันธุ์มันสำาปะหลังพันธุ์ “เกษตรศาสตร์ 50” เกิดจาก
            ศูนย์ลดต้นทุนการผลิตมันสำาปะหลัง มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำาปะหลังแห่ง
            ประเทศไทย ได้ดำาเนินการปลูกมันสำาปะหลังพันธุ์ส่งเสริม 4 พันธุ์ ได้แก่

            ระยอง 60 ระยอง 90 ศรีราชา 1 และเกษตรศาสตร์ 50 เปรียบเทียบกับ
            พันธุ์พื้นเมือง (ระยอง 1) เพื่อเปรียบเทียบผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้ง ใน

            พื้นที่ของศูนย์ลดต้นทุน  และได้ทำาการขุดหัวมันตรวจสอบวัดผลผลิต




                                                                             63
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83