Page 154 -
P. 154

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว









                                                                                    ด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ ได้แก่ โคเนื้อพันธุ์กำาแพงแสน
                                                                              เป็นการปรับปรุงพันธุ์โดยนำาโคพันธุ์บราห์มันมาผสมกับโคพันธุ์
                                                                              พื้นเมืองของไทย ทำาให้ได้ลูกผสมที่มีขนาดใหญ่ โตเร็ว และ

                                                                              ให้ลูกดก แล้วนำาโคพันธุ์ชาโรเลส์มาผสมด้วย เพื่อให้ได้โคที่มี
                                                                              เนื้อนุ่มและเจริญเติบโตเร็ว ทำาให้ได้ลูกผสมที่มีคุณสมบัติที่ดี
                                                                              ครบถ้วน อีกทั้งได้มีการส่งเสริมธุรกิจการจำาหน่ายเนื้อโคขุน

                                                                              พันธุ์กำาแพงแสน เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร
                                                                                    ไก่เบตง (สายเคยู) พัฒนามาจากไก่เบตงพันธุ์พื้นเมืองที่
                                                                              ขึ้นชื่อของจังหวัดยะลา ลักษณะเด่นคือ ไก่มีเนื้อมาก เหนียวนุ่ม   145
                                                                              หอม เนื้อไม่แฉะ รสชาติดี มีไขมันใต้ผิวหนังน้อย จึงเป็นที่นิยม
                                                                              ของผู้บริโภค โดยเกษตรกรสามารถเลี้ยงขายเป็นไก่เนื้อส่งตลาด

                                                                              ได้ในระยะเวลาสั้นกว่าไก่เนื้อพันธุ์พื้นเมือง พร้อมทั้งเผยแพร่
                                                                              ให้เกษตรกรรายย่อยนำาไปเลี้ยงเป็นอาชีพหลัก และยังสนับสนุน
                                                                              ให้เป็นกิจกรรมส่งเสริมอาชีพให้กับนิสิตในโอกาสต่างๆ

                                                                                    การปรับปรุงพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์โดยมหาวิทยาลัย
                                                                              เกษตรศาสตร์ได้ดำาเนินการมาอย่างต่อเนื่องภายใต้สภาพ           72 ปี เกษตรศาสตร์ พิพัฒน์แผ่นดินไทย        พลวัตเพื่อเกษตรก้าวไกล
                                                                              ภูมิประเทศและภูมิอากาศของประเทศไทย ซึ่งสามารถสร้าง
                                                                              ความมั่นคงและความอุดมสมบูรณ์ด้านการเกษตร ส่งผลให้
                                                                              ผลผลิตทางการเกษตรเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ

                                                                              เกษตรกรมีรายได้ มีฐานะดีขึ้น ประชาชนกินดีอยู่ดีไม่อดอยาก
                                                                              นอกจากนี้ยังมีผลผลิตเหลือส่งออกไปจำาหน่ายยังต่างประเทศ
                                                                              นำารายได้เข้าประเทศเป็นจำานวนมาก ซึ่งเป็นรากฐานที่ทำาให้

                                                                              ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ
                                                                                    นอกจากนี้ในสาขาเกษตรศาสตร์ยังมีการวิจัยต่างๆ
                                                                              ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ปุ๋ยสั่งตัด ชุดตรวจสอบ
                                                                              อินทรียวัตถุในดิน ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยคอกผสมจุลินทรีย์แบบอัดเม็ด
                                                                              ส่งเสริมสุขภาพพืชและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้พืช วัสดุปลูก ไส้เดือนดิน

                                                                              ไทเกอร์สายพันธุ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลิตภัณฑ์หมามุ่ย
                                                                              การเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแพเชือก การเพาะพันธุ์ปลาการ์ตูน
                                                                              การปลูกไม้ยูคาลิปตัสบนคันนา ชีวภัณฑ์ไตรโคเดอร์มาและ

                                                                              บาซิลลัสเพื่อควบคุมโรคพืช ชุดตรวจสอบโรคพืชที่เกิดจาก
                  ต้นพลัม
                                                                              เชื้อไวรัสแบบรวดเร็ว ชุดตรวจสอบสารพิษซีราลีโนนแบบรวดเร็ว
                                                                              หัวจ่ายนำ้าชลประทาน 1 ตามแนวพระราชดำาริ เป็นต้น
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159