Page 19 -
P. 19
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
10
ทฤษฎีไนควิทซ (nyquist theory) ระบุไววา ถาความถี่ในการสุมเก็บตัวอยางมีคา
มากกวาสองเทาของความถี่สูงสุดของสัญญาณเราจะสามารถสรางสัญญานตนฉบับ
จากตัวอยางที่สุมมาได โดยความถี่การสุมจะมีคาเทากับ 1/dx ถาความถี่ในการสุม
ตัวอยางต่ํากวาความถี่ไนควิทซ จํานวนตัวอยางที่ไดจากการสุมจะนอยเกินไป ไม
เพียงพอตอการประมาณสัญญาณอนาล็อกตนฉบับได ทําใหเกิดปญหาที่เรียกวา
undersampling
(ก) (ข)
รูปที่ 1.10 การสุมตัวอยางภาพ (ก) แบบสี่เหลี่ยม (ข) แบบหกเหลี่ยม
สําหรับสัญญาณสองมิติ ไดแก สัญญาณภาพ การสุมตัวอยางจะทําผานลักษณะการ
วางเซ็นเซอรรับแสงภายในอุปกรณที่ใชตรวจจับภาพ โดยนิยมจัดวางตัวเซ็นเซอรรับ
แสงในสองลักษณะ คือ แบบตารางสี่เหลี่ยม (square lattice) และ แบบตารางหก
เหลี่ยม (hexagonal lattice) ดังแสดงในรูปที่ 1.10(ก) และ 1.10(ข) ตามลําดับ การสุม
ตัวอยางแบบตารางสี่เหลี่ยมจะเรียกวา rectangular sampling สวนการสุมตัวอยาง
แบบตารางหกเหลี่ยมจะเรียกวา hexagonal sampling โดยทั่วไปอุปกรณตรวจจับภาพ
ตามทองตลาดที่พบเห็นจะทําการสุมตัวอยางแบบสี่เหลี่ยม แตในปจจุบันความนิยม
ในการจัดวางตัวรับแสงแบบหกเหลี่ยมเริ่มมีเพิ่มมากขึ้นมาก ทั้งนี้เนื่องจากประสิทธิ-
ภาพในการประมวลผลภาพที่ไดจากการสุมแบบหกเหลี่ยมจะสูงกวาการประมวลผล
ภาพที่ไดจากการสุมแบบสี่เหลี่ยม
ในกรณีที่ตองการตรวจจับภาพใหไดภาพที่มีลักษณะใกลเคียงกับภาพที่ตามนุษยมอง
เห็น การสุมจะตองทําการสุมตัวอยางภาพที่ความถี่ไนควิทซ คือ ตองทําการสุม
ตัวอยางภาพดวยความถี่สูงกวาสองเทาของคาความถี่สูงสุดที่ปรากฎภายในภาพ หรือ