Page 61 -
P. 61

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี







                           หลังจากดําเนินมาตรการโซนนิ่ง สํานักหอสมุด ได้จัดระบบการจัดเก็บหนังสือแบบใหม่ โดยชั้น 1

               จัดเก็บหนังสืออ้างอิง และหนังสือใหม่ ซึ่งมีปริมาณการใช้สูง และชั้น 3  จัดเก็บหนังสือเก่า ซึ่งมีปริมาณการใช้
               ต่ํา สําหรับวิทยานิพนธ์ได้งดการให้ยืมตัวเล่ม ฉ.1  โดยเก็บเข้าคลังเพื่อการอนุรักษ์ และส่งเสริมให้ใช้วิธีดาวน์

               โหลดเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์แทน นอกจากนี้ ได้กําหนดให้มีทางเข้า-ออก พื้นที่บริการหนังสือชั้น

               1  และชั้น 3  อย่างชัดเจน โดยผู้ใช้บริการจะต้องทําการยืมหนังสือก่อนที่จะนําออกนอกพื้นที่ จึงไม่มีการนํา
               หนังสือไปวางไว้นอกพื้นที่โดยไม่ผ่านการยืมอีกต่อไป ส่งผลให้กิจกรรมตามเก็บหนังสือที่กระจายอยู่ทั้ง 2

               อาคาร 7 ชั้น วันละ 5 รอบ สิ้นสุดลง เจ้าหน้าที่ลดภาระงานลงเหลือเพียงการตามเก็บหนังสือที่อยู่ในพื้นที่เพื่อ

               นําขึ้นจัดเรียงบนชั้นหนังสือได้อย่างรวดเร็ว
                           จากการที่หนังสือไม่ถูกนําไปใช้นอกพื้นที่ และเจ้าหน้าที่สามารถตามเก็บหนังสือจัดเรียงขึ้นชั้นได้

               รวดเร็วขึ้น ส่งผลให้โอกาสของการหาหนังสือบนชั้นไม่พบ ลดลงจากร้อยละ 1.5  เหลือเพียงร้อยละ 0.27
               ปัญหาพื้นฐานในเรื่องการหาหนังสือบนชั้นไม่พบสําหรับห้องสมุดที่ให้บริการแบบชั้นเปิด ที่อนุญาตผู้ใช้บริการ

               เข้าถึงชั้นหนังสือและเลือกหยิบหนังสือได้ด้วยตนเอง ได้รับการแก้ไขและลดระดับความรุนแรงของปัญหาลง
                           นอกจากผลทางตรงในด้านการลดปริมาณการใช้พลังงาน การลดต้นทุน และการเพิ่ม

               ประสิทธิภาพการให้บริการแล้ว ผู้ใช้บริการยังมีความพึงพอใจต่อการได้รับแสงสว่างบริเวณหน้าชั้นหนังสือใน

               ระดับมาก ซึ่งจากเดิมอยู่ในระดับน้อยที่สุด เนื่องจากชั้นหนังสือบังแนวโคมไฟทําให้หน้าชั้นมืดแม้จะเปิดไฟใน
               บริเวณนั้น


                           ทั้งนี้ มีข้อสังเกตจากเจ้าหน้าที่ซึ่งให้บริการอยู่ในพื้นที่ เกี่ยวกับผลทางอ้อมที่เกิดจากการดําเนิน

               มาตรการโซนนิ่ง คือ ผู้ใช้บริการเดินขึ้นชั้น 3  น้อยลง เนื่องจากหนังสือใหม่อยู่ชั้น 1  มีผลให้เสียงรองเท้า
               (โดยเฉพาะรองเท้าส้นสูง) ที่กระทบพื้นปาร์เก้ตรงบันไดโถงกลางห้องสมุดลดลงด้วย  นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยัง

               สังเกตเห็นพฤติกรรมของผู้ใช้บริการเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งจากเดิมผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ โดยเฉพาะ
               ผู้ใช้บริการที่เป็นบุคคลภายนอก มักจะมารื้อค้นหนังสือจากบนชั้นจํานวนครั้งละมากๆ นําไปกองไว้ตามโต๊ะ

               หนังสือนอกพื้นที่ โดยไม่เลือกเฉพาะเล่มที่ต้องการใช้จริง ปัจจุบัน ผู้ใช้บริการจะค้นหนังสือจากในระบบก่อน

               และมาเลือกหยิบเฉพาะหนังสือเล่มที่ต้องการเท่านั้น ส่วนเล่มที่ไม่ต้องการจะวางไว้ตรงบริเวณหน้าชั้นหนังสือ


                             ผลสรุปจากมาตรการโซนนิ่ง ในด้านการประหยัดพลังงานเฉพาะพลังงานแสงสว่างและ
               พลังงานจากการใช้ลิฟท์โดยสาร (ยังไม่รวมระบบปรับอากาศและอื่นๆ) มีค่าไม่สูงมากนัก แต่มาตรการดังกล่าว

               สามารถลดต้นทุนแรงงานด้านโลจิสติกส์ของห้องสมุด และช่วยแก้ปัญหาการให้บริการหนังสือในห้องสมุดซึ่ง
               เป็นปัญหาที่พบในห้องสมุดเกือบทุกแห่งลงได้ พร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ มาตรการโซนนิ่ง

               จึงเป็นมาตรการที่ส่งผลกระทบกับผู้ใช้บริการโดยตรง และบุคลากรผู้มีหน้าที่ให้บริการได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง
               มากที่สุด ผลที่เห็นได้อย่างชัดเจนแต่ไม่สามารถวัดเป็นหน่วยนับได้ จากมาตรการนี้คือ การเรียนรู้จาก

               ประสบการณ์ตรงของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่  ในการสร้างความตระหนักรู้เรื่องการทํางานอย่างไรให้

               ประหยัดพลังงานไฟฟ้าและประหยัดพลังงานคน ซึ่งบุคลากรได้มีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติ และได้เรียนรู้






                                                           58
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66