Page 60 -
P. 60

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี







               อัตโนมัติเมื่อไม่มีผู้ใช้บริการ และไฟติดทันทีเมื่อมีผู้ใช้เข้าไปในพื้นที่ จัดการเรื่องโลจิสติกส์หนังสือในหอสมุด

               ใหม่ ทําการคัดแยกหนังสือใหม่ (ปี ค.ศ. 2000-ปัจจุบัน) ออกจากหนังสือเก่า (เก่ากว่าปี ค.ศ. 2000)  โดยนํา
               หนังสือใหม่มาไว้ชั้น 1  นําหนังสือเก่าไปไว้ชั้น 3  และแยกหนังสือเก่ามาก รวมทั้งวิทยานิพนธ์และหนังสือที่

               ต้องการเก็บรักษาเข้าคลังหนังสือ  จัดพื้นที่นั่งที่กระจายและแทรกอยู่ตามชั้นหนังสือ ให้มาอยู่รวมกลุ่มเพื่อง่าย

               ต่อการจัดการให้แสงสว่างที่เหมาะสมได้มาตรฐาน และกําหนดให้มีทางเข้าออกพื้นที่จัดเก็บหนังสือในแต่ละชั้น
               โดยหนังสือที่จะถูกนําออกนอกพื้นที่ต้องผ่านการยืมก่อนทุกครั้ง


                           ผลสัมฤทธิ์


                           การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการดําเนินมาตรการปรับปรุงพื้นที่เพื่อการประหยัดพลังงานและเพิ่ม

               ประสิทธิภาพการให้บริการ พิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ใน 3 ด้าน คือ

                             1. ผลสัมฤทธิ์ในด้านการลดต้นทุน ได้แก่ การลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า การลดต้นทุน

                                การดําเนินงาน

                             2. ผลในด้านโลจิสติกส์ ในส่วนของการบริหารจัดการหนังสือ การวางแผนการเดินทางของ
                                หนังสือ และการเดินทางของผู้ใช้บริการ

                             3. ผลในด้านประสิทธิภาพการให้บริการ โดยพิจารณาจากการลดโอกาสในการหาหนังสือบน
                                ชั้นไม่พบ



                           จากการศึกษา พบว่า การดําเนินมาตรการโซนนิ่ง สามารถลดต้นทุนได้ปีละ 513,823.36  บาท
               ซึ่งเป็นผลจากการลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉพาะในส่วนของแสงสว่าง ได้ประมาณ 97,089.05

               kWh/ปี คิดเป็นเงิน 318,452.08  บาท/ปี และลดการใช้ไฟฟ้าจากลิฟท์โดยสาร ได้ประมาณ 109.20  kWh/ปี
               คิดเป็นเงิน 371.28 บาท/ปี และลดต้นทุนแรงงานการขนส่งหนังสือได้ประมาณ 195,000 บาท/ปี

                           ผลในด้านโลจิสติกส์ สามารถลดปริมาณการขนส่งหนังสือได้ถึงปีละ 445,800  เล่ม หรือคิด

               เป็นจํานวนรอบในการขนหนังสือ 3,900  รอบ ทั้งนี้ เนื่องจากเดิม สํานักหอสมุดได้จัดเก็บหนังสือทั่วไป ทั้งปี
               เก่าและใหม่ไว้ชั้น 3  อาคารช่วงเกษตรศิลปการ ส่วนชั้น 1  เป็นหนังสืออ้างอิงและวิทยานิพนธ์ ผู้ใช้บริการ

               สามารถหยิบหนังสือจากบนชั้นโดยไม่ผ่านการยืม นําไปอ่านได้ทุกพื้นที่ในสํานักหอสมุด ซึ่งมี 2 อาคารเชื่อมต่อ
               กัน โดยอาคารเก่ามี 3  ชั้น อาคารใหม่ 5  ชั้น  รวมพื้นที่ 7  ชั้น ในแต่ละวัน จะต้องมีเจ้าหน้าที่เดินเก็บหนังสือ

               ตามโต๊ะในพื้นที่ 7  ชั้น จํานวนวันละ 3  รอบๆ ละ 3  คน โดยใช้เวลาคนละประมาณ 30  นาที และทําการขน

               ย้ายหนังสือที่ถูกนําไปใช้ในพื้นที่ทั้ง 7 ชั้น ซึ่งมีจํานวนประมาณรอบละ 2-3 คันรถ/เจ้าหน้าที่ 1 คน  มารวมไว้ที่
               ชั้น 3 อาคารช่วงเกษตรศิลปการ เพื่อทําการคัดแยกและจัดเรียงขึ้นชั้น นอกจากนี้ ยังต้องทําการขนย้ายหนังสือ

               ที่ผู้ใช้บริการนํามาคืนที่เคาน์เตอร์ยืม-คืน ชั้น 1 ไปไว้ชั้น 3 เพื่อจัดเรียงขึ้นชั้น โดยทําการขนย้ายหนังสือที่ได้รับ
               คืน จากชั้น 1 ไป ชั้น 3 วันละ 5 รอบ








                                                           57
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65