Page 59 -
P. 59

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี










               การปรับปรุงพื้นที่เพื่อการประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
               การปรับปรุงพื้นที่เพื่อการประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ





                           สํานักหอสมุด ได้จัดทําโครงการปรับปรุงพื้นที่เพื่อการประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพการ
               ให้บริการ หรือที่บุคลากรนิยมเรียกโครงการนี้ว่า มาตรการโซนนิ่ง (Zoning)   สาเหตุที่สํานักหอสมุดดําเนิน
               มาตรการปรับปรุงพื้นที่เพื่อการประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ เนื่องจากเป็นมาตรการที่

               สามารถตอบโจทย์และช่วยแก้ปัญหาการให้บริการของห้องสมุด ซึ่งเป็นปัญหาที่ห้องสมุดส่วนใหญ่ประสบ
               ปัญหาที่คล้ายคลึงกัน มาตรการโซนนิ่งจึงสามารถใช้เป็นกรณีศึกษาและใช้เป็นต้นแบบของมาตรการประหยัด
               พลังงาน ที่ห้องสมุดต่างๆ สามารถศึกษาและนําไปประยุกต์ใช้งานในห้องสมุดได้

                           ปัญหาส่วนใหญ่ที่ห้องสมุดทั่วไปประสบ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน มีดังนี้

                                1. ห้องสมุดส่วนใหญ่ต้องเปิดไฟไว้ตลอดทั้งชั้นและตลอดเวลาทําการเพื่อการให้บริการ

                                   แม้ว่าจะมีผู้ใช้บริการจํานวนน้อยหรือไม่มีผู้ใช้บริการเลยในบางช่วงเวลา
                                2. แสงสว่างบริเวณหน้าชั้นหนังสือมักไม่เพียงพอแม้ว่าจะเปิดไฟเต็มพื้นที่แล้วก็ตาม

                                   เนื่องจากการติดตั้งแนวโคมไฟในห้องสมุดไม่สอดคล้องกับแนวชั้นหนังสือ ทําให้แสง
                                   สว่างถูกชั้นหนังสือบังเป็นช่วงๆ

                                3.  ห้องสมุดส่วนใหญ่มีปัญหาการสิ้นเปลืองพลังงาน และการใช้พลังงานอย่างไม่คุ้มค่า ใน
                                   การขนย้ายหนังสือในทุกกระบวนงาน เนื่องจากขาดการวางแผนที่ดีด้านโลจิสติกส์ใน

                                   ห้องสมุด

                                4. ปัญหาสุดท้าย ซึ่งเป็นปัญหาที่ทุกห้องสมุดที่ให้บริการแบบชั้นเปิดต้องประสบคือ การ
                                   หาหนังสือบนชั้นไม่พบ เนื่องจากหนังสือถูกหยิบไปใช้นอกพื้นที่โดยไม่ผ่านการยืม ซึ่ง

                                   ยากต่อการตรวจสอบและติดตาม

                           นอกจากปัญหาดังกล่าวมาทั้งหมด สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังมีปัญหาด้าน
               ภาพลักษณ์ความทันสมัยของหนังสือที่ให้บริการ ที่มักจะมีผู้ใช้บริการบอกว่ามีแต่หนังสือเก่า ซึ่งในความเป็น

               จริง สํานักหอสมุดจัดซื้อหนังสือใหม่เพิ่มทุกปีและปีละจํานวนมาก แต่เนื่องจากสํานักหอสมุด
               มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นห้องสมุดที่เปิดดําเนินการมาพร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งมีอายุ

               มากกว่า 70  ปี มีการสั่งสมหนังสือมาอย่างต่อเนื่อง ปริมาณหนังสือเก่าจึงมีสัดส่วนมากกว่าหนังสือใหม่ เมื่อมี
               การจัดเรียงหนังสือรวมกัน จึงทําให้เห็นว่ามีแต่หนังสือเก่าเป็นส่วนใหญ่

                           สํานักหอสมุด ได้รวบรวมปัญหาและศึกษาแนวทางการแก้ไข ภายใต้มาตรการปรับปรุงพื้นที่เพื่อ

               การประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ  โดยการจัดแนวชั้นหนังสือและแนวโคมไฟให้
               สอดคล้องกัน ติดตั้ง Motion sensor ควบคุมการเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติโดยการจับความเคลื่อนไหว ให้ไฟหรี่/ปิด








                                                           56
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64