Page 112 -
P. 112
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สามารถใช้ทดแทน หรือร่วมกับระบบอื่นๆ เช่น Water softener, Magnetic treatment, ระบบแปรงชัด
(brushing system) การใช้สารเคมี ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของอุปกรณ์ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน และความเหมาะสมใน
การใช้งาน
หลักการทํางาน
ลูกบอลล์ที่มีขนาดใหญ่กว่าเส้นผ่าน
ศูนย์กลางของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
(ประมาณ 1 มิลลิเมตรหรือใหญ่กว่า) ทั้งหมดจะ
กระจายกันเข้าสู่ท่อภายในเครื่องแลกเปลี่ยน
ความร้อนพร้อมๆ กันและจะทําความสะอาดผนัง
ท่อไปจนถึงทางออก ทําให้ท่อแต่ละเส้นสะอาด
ปราศจากสิ่งตกค้างจึงป้องกันการตกผนึก
(crystallization) ภายในท่อ อนึ่งเนื่องจากลูก
บอลล์ที่ใช้มีลักษณะยืดหยุ่นแม้ลูกบอลล์จะใหญ่
กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อก็จะถูกดันให้เข้าไป
ในท่อได้และทําให้การถูสิ่งตกค้างบริเวณภายใน
ของท่อเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยที่ไม่ทํา
ความเสียหายแก่ผนังท่อ
เมื่อท่อถูกทําความสะอาดเรียบร้อยแล้วลูกบอลล์ก็จะออกจากเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนมายังชุดจับลูกบอลล์เมื่อ
เต็มแล้วน้ําส่วนเกินกับสิ่งสกปรกก็จะถูกปล่อยออกมาจาก drain valve เป็นอันจบขั้นตอนการทําความสะอาด
จากนั้นระบบทําความสะอาดด้วยลูกบอลล์ stand by เพื่อรอจนกว่าจะถึงเวลาทํางานในรอบต่อไป
3. การใช้ระบบโอโซนกับระบบระบายความร้อน
โอโซนเป็น oxidant และสารฆ่าเชื้อที่แรงที่สุดเหมาะสําหรับการบําบัดน้ํา ข้อดีประการสําคัญคือโอโซนไม่
ก่อให้เกิดผลพลอยได้ที่ไม่พึงประสงค์ และตัวมันเองสลายเป็นออกซิเจน ข้อด้อยคือมันมี half-life สั้นและละลายน้ํา
ได้น้อย โอโซนได้รับความนิยมมากขึ้นสําหรับฆ่าเชื้อน้ําบรรจุขวด และในอุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่ม และ
เครื่องสําอาง มีการประยุกต์ใช้โอโซนในการบําบัดน้ําดื่ม น้ําในสระว่ายน้ํา ในสวนสัตว์ และน้ําที่ใช้หมุนเวียนทํา
ความเย็น
109