Page 109 -
P. 109

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี







                                                     เทคโนโลยี Ozone



                                                                 น้ําเป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่งที่สามารถนําไปใช้ในการ
                                                          ระบายความร้อนที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ต่างๆเพื่อรักษาระดับ
                                                          อุณหภูมิของอุปกรณ์นั้นๆ ไม่ให้สูงเกินไปและสามารถทํางาน
                                                          ได้เป็นปกติเราจะสังเกตเห็นการใช้น้ําในการระบายความร้อน
                                                          อยู่ทั่วไปแม้กระทั่งในหม้อน้ํารถยนต์ของเราเอง การระบาย

                                                          ความร้อนด้วยน้ํามีหลักการง่ายๆ คือ การนําน้ําที่อุณหภูมิต่ํา
                                                          ผ่านเข้าไปยังอุปกรณ์ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat
                                                          Exchange) หลังจากนั้นน้ําก็มีอุณหภูมิสูงขึ้นและช่วยรับเอา

              ความร้อนจากอุปกรณ์และเปลี่ยนความร้อนนั้นออกมา ปกติถ้าเราสามารถหาแหล่งน้ําที่มีปริมาณมากพอเราก็จะ
              สามารถสูบน้ําจากแหล่งน้ํานั้นมาผ่านตัวอุปกรณ์ระบายความร้อนและทิ้งไปได้เลยแต่สําหรับการระบายความร้อนที่
              มีปริมาณความร้อนสูงเราจําเป็นต้องใช้ปริมาณน้ําจํานวนมากซึ่งการที่เราจะสูบน้ํามาระบายความร้อนและทิ้งไปเลย
              นับว่าเป็นการสิ้นเปลืองและเป็นการใช้ทรัพยากรแหล่งน้ําอย่างไม่เหมาะสมอย่างยิ่งนอกจากนี้ปัญหาในการหาแหล่ง

              น้ําดังกล่าวก็ไม่ใช่สิ่งที่จะหาได้อย่างง่ายๆ ดังนั้นจึงมีการประดิษฐ์อุปกรณ์ที่จะช่วยในการลดอุณหภูมิของน้ําที่ผ่านตัว
              ระบายความร้อนมาแล้วนี้ให้มีอุณหภูมิต่ําลงมากเพียงพอที่จะสามารถหมุนเวียนนํากลับไประบายความร้อนได้อีก
              ครั้งหนึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวนี้ก็คือ“คูลลิ่งเทาเวอร์” นั่นเองซึ่งสามารถทําให้เราใช้น้ําในการระบายความร้อนหมุนเวียน
              ได้โดยมีปริมาณน้ําที่สูญเสียไปน้อยมากจึงนับว่าเป็นการใช้น้ําในการระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


              ปัญหาทั่วไปที่มักเกิดกับเครื่องปรับอากาศ (Chiller)
                   ประสิทธิภาพการทํางานใน Compressor และ Motor ลดลง
                            - การสึกหรอของชิ้นส่วนใน Compressor และ Motor

                            - ประสิทธิภาพของแกนเหล็กใน Motor ลดลง
                     เมื่อประสิทธิภาพลดลงทําให้เครื่องจักร หรือ อุปกรณ์ เช่น ระบบปรับอากาศต้องใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น ทํา
                  ให้ค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าไฟเพิ่มขึ้น

                   การลดลงของประสิทธิภาพในการระบายความร้อนใน Condenser
                     ระบบแลกเปลี่ยนความร้อนจะทํางานได้ดีต้องอาศัยระบบน้ําหล่อเย็นที่มีประสิทธิภาพด้วยความสําคัญของ
                  ระบบหล่อเย็นแม้มีจํากัดแต่มักหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยมากในคอนเดนเซอร์สําหรับระบบปรับ
                  อากาศและเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนส่วนมากจะเป็นพวกตะกรัน (Scaling)  BIOLOGICAL  FOULING  และ

                  CORROSION  การเกิดของ  MICRO-ORGANISM  และตะกรันภายในท่อมักเกิดขึ้นอยู่เสมอหากระบบมีปัญหา
                  เช่น ขาดการกรองที่ดีท่อมีสภาพเก่ามาก หรือบางครั้งน้ําที่ใช้มีสภาพไม่เหมาะสมเมื่อตะกรันภายในท่อมีเพิ่ม
                  มากขึ้นจะทําให้เกิดปัญหาดังต่อไปนี้

                           ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยน / ถ่ายเทความร้อนลดลงจากการสะสมของสิ่งสกปรก ตะกรัน ฝุ่น
                            และโคลน ทําให้คุณภาพของน้ําที่ใช้เติมเข้าระบบระบายความร้อนไม่ดีเกิดแบคทีเรียและตะไคร่น้ํา
                            สะสมในระบบ

                           เมื่อท่อเกิดตะกรันมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่งท่อจะตันทําให้ต้องมีการหยุดเครื่องเพื่อทําการล้าง
                            และทําความสะอาดตะกรัน (Scale) เกิดขึ้นเนื่องจากเกลือแร่ที่ละลายอยู่ในน้ํารวมตัวเกิดตะกอน
                            จับอยู่ตามพื้นผิวรับความร้อน โดยมากเป็นพวก CaCo3  MgCo3  ซึ่งจะทําหน้าที่เสมือนฉนวน




                                                           106
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114