Page 111 -
P. 111

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี







                           การใช้คลอรีน โดยการเติมก๊าซคลอรีนหรือโซเดียมไฮโปคลอไรท์ลงในน้ํา ปริมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับ

                            ข้อกําหนดของการฆ่าเชื้อในน้ํา เพื่อให้การฆ่าเชื้อได้ผล ระยะเวลาการออกฤทธิ์ต้องไม่ต่ํากว่า 20
                            นาที ประสิทธิภาพของการใช้คลอรีนขึ้นอยู่กับค่า pH ของน้ําด่าง โดยเฉพาะน้ําที่ปนเปื้อนด้วย
                            สารอินทรีย์จะเกิดกลิ่นและรสที่ไม่พึงปรารถนา

                           คลอรีนไดออกไซด์ คลอรีนไดออกไซด์เป็นสารฆ่าเชื้อที่ใช้แทนคลอรีนในงานต่างๆ เพิ่มขึ้น ไม่
                            พึ่งพาค่า pH ของน้ํา เนื่องจากคุณสมบัติทางเคมี สารตัวนี้ไม่ก่อให้เกิดผลพลอยได้เหมือนคลอรีน
                            เนื่องจาก half-life ที่ยาวกว่า จึงมีฤทธิ์ตกค้างในการฆ่าเชื้อในน้ําดีกว่า ทําลายแผ่น biofilm ใน
                            ระบบท่อและถังเก็บน้ําจึงช่วยกําจัดการแพร่เชื้อ Legionella

                           การฆ่าเชื้อด้วยอุลตร้าไวโอเลต ในการฆ่าเชื้อด้วยอุลตร้าไวโอเลต จะใช้แสงอุลตร้าไวโอเลตคลื่น
                            สั้นส่องในน้ํา นับเป็นการฆ่าเชื้อโรคที่ได้ผลและไม่มีผลต่อคุณภาพของน้ํา

                           การฆ่าเชื้อด้วย Silver Ion โดยการเติม Silver Ion ในน้ําที่ความเข้มข้น 0.05-0.1 มก./ลิตร สาร
                            Silver Ion ทําหน้าที่เป็นตัวฆ่าเชื้อโรค ปัจจุบันนี้เราใช้สารนี้เฉพาะในการฆ่าเชื้อน้ําดื่มในเรือ หรือ
                            น้ําดื่มในเขตที่เกิดภัยพิบัติเท่านั้น

                           การกรองปลอดเชื้อ การกรองปลอดเชื้อจะจํากัดการใช้งานด้านเวชภัณฑ์เนื่องจากต้นทุนสูง
                            กรรมวิธีนี้ใช้เมมเบรนกรองพิเศษที่มีขนาดเล็กกว่า 0.5 ไมโครเมตร แผ่นเมมเบรนจะต้องมีการฆ่า
                            เชื้อตามกําหนดเวลา


              2.  อุปกรณ์ทําความสะอาดเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนด้วยลูกบอลล์ (Ball Cleaning System)































                                                           108
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116