Page 168 -
P. 168
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
7-3
พ.ศ. 2419 ได้มีการขุดคลองนครเนื่องเขตร์เชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครกับ
ฉะเชิงเทรา แล้วเสร็จในปี 2420 (กรมชลประทาน, 2529: 304)
พ.ศ. 2420 ได้มีการออกกฎระเบียบในการขุดคลองเรียกว่า “ประกาศขุดคลอง” ประกาศฉบับนี้
จะพิจารณาถึงผู้ขอจองที่ดินว่ามีความสามารถจะท้าประโยชน์กับพื้นที่ที่จับจองได้หรือไม่ จากนั้นจึงจะออกโฉนดจอง
ให้ ซึ่งใจความส้าคัญของประกาศดังกล่าวอยู่ที่การให้ราษฎรผู้ประสงค์ที่จะท้านาใช้ประโยชน์พื้นที่ริมคลองให้ได้มาก
ที่สุด และยังต้องช่วยลดแรงหรือออกเงินช่วยในการขุดคลองด้วย ซึ่งรัฐบาลได้ใช้นโยบายเช่นนี้กับโครงการขุดคลอง
ต่างๆ ที่อยู่ทางบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้้าเจ้าพระยา (กรมชลประทาน, 2529: 304)
คลองที่ขุดโดยภาคเอกชน ได้แก่ คลองหลวงแพ่ง คลองอุดมชนจร คลองบางพลีใหญ่
คลองพระพิมล และคลองพระยาบันลือ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2525: 4-5) ได้สรุปการขุดคลองต่างๆ ในช่วงปี 2421-2433 ไว้ ดังนี้
“พ.ศ. 2421 ได้มีการขุดคลองทวีวัฒนา ในปีเดียวกันได้เริ่มขุดคลองนราภิรมย์
แล้วเสร็จปี พ.ศ. 2433
พ.ศ. 2422 ได้เริ่มขุดคลองประเวศบุรีรมย์แล้วเสร็จในปี 2423
พ.ศ. 2424 ได้มีการขุดคลองนิยมยาตรา
พ.ศ. 2431 ได้มีการขุดคลองหลวงแพ่ง คลองอุดมชนจรและคลองบางพลีใหญ่
โดยภาคเอกชน
พ.ศ 2433 ได้มีการขุดคลองพระพิมลโดยภาคเอกชน”
พ.ศ. 2435 ได้เริ่มขุดคลองพระยาบันลือ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2525: 37)
วันที่ 1 เมษายน 2435 ได้มีการปรับปรุงกรมนาขึ้นเป็น “กระทรวงเกษตรพนิชการ” โดย
มีข้อความปรากฎในประกาศกระแสพระบรมราชโองการความว่า “… กระทรวงเกษตรธิการที่ได้บังคับการ
โรงภาษีสินค้าเข้าออกนั้น ให้ยกไปขึ้นกระทรวงการคลัง ให้คงแต่เกษตรพานิชและเกษตรกร ...”
(กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2525: 6) ซึ่งมีหน้าที่หลักดังนี้
“(1) มีน่าที่ ที่จะต้องคิดจัดการให้ที่ดินซึ่งเปนป่าดงพงแขมรกร้างว่างเปล่าอยู่ไม่
เปนประโยชน์ ให้มีผู้เลิกรั้งกลับเปนที่มีประโยชน์ขึ้น
(2) มีน่าที่ ที่จะต้องวิดน้้าเข้านา (เมื่อเวลาน้้าน้อย) ขุดบึง, บาง, คลอง แลไขนา
(เมื่อน้้ามากเกินความต้องการของการท้านา)”
จากหลักฐานแผนที่ ร.ศ. 120 และ 124 พบว่าในเขตจังหวัดปทุมธานีในขณะนั้นมีชุมชนตั้งอยู่
บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้้าเจ้าพระยาหรือบริเวณอ้าเภอสามโคกในปัจจุบัน ส่วนทางด้านตะวันตกของแม่น้้า
เจ้าพระยายังคงเป็นที่รกร้างว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ ต่อมาใน พ.ศ 2431 ได้มีการให้สัมปทาน แก่ “บริษัทขุดคลอง
และคูนาสยาม” ท้าการขุดคลอง “รังสิตประยูรศักดิ์” รวมทั้งคลองแยกและคลองซอย รวม 43 คลอง ความยาวรวม
ทั้งสิ้น 33,400 เส้น (ปิยนาถ บุนนาค, 2537: 42) คลองใหญ่ (คลองรังสิต) กว้าง 8 วา ยาว 1,370 เส้น คลองแยกกว้าง
3-5 วา คลองรังสิตประยูรศักดิ์ที่ท้าการขุดนี้อยู่ในบริเวณท้องทุ่งหลวงหรือทุ่งรังสิต ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของ