Page 166 -
P. 166

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                        7-1




                                                            เรื่องที่ 7


                                           นโยบายน ้าเพื่อการเกษตรและเหตุการณ์ที่ส้าคัญ


                           ด้วยเหตุที่ว่าน้้าเป็นปัจจัยหลักในการเกษตร จึงมีนโยบายน้้าเพื่อการเกษตรมาตั้งแต่กรุงสุโขทัยเป็นราช
                   ธานี ในระยะต่อมาได้มีการก่อสร้างเขื่อนเพื่อเก็บกักน้้าและระบบชลประทาน อ่างเก็บน้้าขนาดกลาง

                   อ่างเก็บน้้าขนาดเล็ก บ่อน้้าในไร่นา ฝาย บ่อน้้าตื้น ตลอดจนการสูบน้้าด้วยไฟฟ้าจากแหล่งน้้าธรรมชาติเพื่อ

                   การเกษตร โดยมีนโยบายน้้าเพื่อการเกษตรและเหตุการณ์ที่ส้าคัญตามล้าดับเวลา ดังต่อไปนี้
                                  ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1762 โครงสร้างพื้นฐานทาง

                   เศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัยขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรมเป็นหลัก (กระมล ทองธรรมชาติ และคณะ, 2533:
                   231) ทั้งนี้ ได้ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 1 เกี่ยวกับเรื่องน้้าไว่ว่า

                                  “  …  เมื่อชั่วพ่อขุนรามค้าแหง เมืองสุโขทัยนี้ดีในน้้ามีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ

                   ในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า  ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ ค้าม้าค้าใคร่จักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า
                   ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ล้มตายหายกว่า เหย้าเรือน พ่อเชื้อเสื้อค้ามัน ช้างขอ ลูกเมีย เยีย ข้าว ไพร่

                   ฟ้า ข้าไทย ป่าหมากป่าพลู พ่อเชื้อมันไว้ แก่ลูกมันสิ้น ...
                                  ... สร้างป่าหมากป่าพลู ทั่วเมืองทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้

                   หมากม่วงก็หลาย ในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน...

                                  ... เบื้องตะวันออกเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมาก ป่าพลู มีไร่มีนา มี
                   ถิ่นมีถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก มีป่าม่วงมีป่าขาม ดูงามดังแกล้ง

                                  เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอัจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว ป่าหมา

                   กลาง มีไร่มีนา มีถิ่นมีถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก
                                                                               1
                                  เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีกุฏิพิหารปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส์ )  มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง
                   ป่าขาม มีน้้าโคก ...” (กรมศิลปากร, 2515: 7-9)

                                  อาณาจักรสุโขทัยนี้  พื้นที่เป็นแหล่งเพาะปลูกส้าคัญ ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มอันกว้างใหญ่
                   ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย ชากังราว สองแคว นครชุม ตาก พื้นที่บริเวณที่อยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้้ายม น่าน

                   และปิง ถึงแม้จะมีน้้าท่าอุดมสมบูรณ์ แต่พื้นที่มีลักษณะเป็นแอ่ง ที่ราบสลับกับที่ดอนมีเทือกเขาเตี้ยๆ กระจายอยู่ตาม
                   ชายเขตที่ราบ (วิสันธนี โพธิสุนทร, 2528:  10) เมื่อถึงหน้าฝนก็จะเกิดน้้าท่วมแผ่เป็นบริเวณกว้าง เมื่อถึงหน้าแล้งน้้าก็

                   กลับแห้งขอด พื้นที่เพาะปลูกได้ก็มีจ้ากัด จึงได้มีการส่งเสริมระบบชลประทานเพื่อช่วยเพาะปลูก โดยการสร้างรางคันดิน

                   ชักน้้าจากบริเวณที่สูงด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ของตัวเมืองสุโขทัยให้ไหลลงมาตามร่องน้้าที่ขุดไว้ น้าน้้าเข้ามาเก็บไว้
                   ตามเหมือง ฝาย คู ของวัด และตามตระพังต่างๆ ทั้งในและนอกก้าแพงเมือง เช่น ที่วัดพระพายหลวง วัดศรีชุม วัดตระพัง

                   เงิน  วัดตระพังทอง วัดสระศรี และที่สรีดภงส์  หรือท้านบพระร่วง บริเวณที่มีการท้าชลประทานของอาณาจักรสุโขทัย
                                                      1)
                   อีกบริเวณหนึ่ง ได้แก่ บริเวณที่มีคูน้้าล้อมรอบทางทิศตะวันออกของวัดพระพายหลวงมีรางน้้า ชักน้้าจากล้าน้้าโจน

                   ระบายลงสู่ล้าน้้าล้าพัน ในปัจจุบัน คือ บริเวณที่เรียกว่า ทะเลน้อยและทะเลนาง (กระมล ทองธรรมชาติ, 2533: 231-232)


                     ----------------------------------------------------

                     1)  สรีดภงส์ : ท้านบ (มาจากภาษาสันกฤตว่า สริท ภง ค)
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171