Page 158 -
P. 158
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
6-4
ประโยชน์ที่ดินในเขตที่รัฐบาลได้ลงทุนไปแล้ว เพื่อเป็นการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่อุตสาหกรรม เช่น
เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม จะไม่สามารถเข้าไปกว้านซื้อที่นาในเขตชลประทาน ซึ่งมีราคาถูกเพื่อตั้งโรงงาน
อุตสาหกรรมได้ เนื่องจากได้ถูกก าหนดให้ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรเท่านั้นจ าเป็นต้องไปตั้งในเขตนิคม
อุตสาหกรรม ซึ่งมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ที่ดินเกษตรกรรมก็จะไม่ถูกเปลี่ยนแปลง ในท านองเดียวกัน
ที่ดินไม่เหมาะสมกับการท าเกษตร แต่มีสิ่งอ านวยความสะดวกเหมาะส าหรับกิจการอุตสาหกรรมก็ควรมีการ
คุ้มครองเพื่อกิจการอุตสาหกรรมนั้น” (ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2542)
วันที่ 4 เมษายน 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วย
นโยบายเศรษฐกิจ (คศก.) คือ รับทราบรายงานความคืบหน้าการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาด าตามที่กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์เสนอ(เกี่ยวกับกองทุนวิจัยและพัฒนากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้ง พ.ศ. 2542 การดูแลเข้มงวดเรื่อง
การฉีดเลนเพื่อสามารถส่งเสริมการเลี้ยงอย่างเป็นระบบและรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติการเร่งรัดการ
ก าหนดเขตพื้นที่เหมาะสมแก่การเลี้ยงกุ้งกุลาด า (Zoning) และการพิจารณาปรับปรุงระบบการจัดสรรน้ า
ชลประทานเพื่อช่วยสนับสนุนและลดความเจือจางของน้ าเค็มในการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามความเหมาะสมของ
พื้นที่และความต้องการของเกษตรกร) โดยให้กระทรวงเกษตรฯ รับข้อสังเกตของปลัดกระทรวงพาณิชย์
(เกี่ยวกับการที่กระทรวงเกษตรฯออกระเบียบก าหนดให้น าเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
จ านวน 50 ล้านบาท จากกระทรวงพาณิชย์มาเป็นเงินประเดิมของกองทุนวิจัยและพัฒนากุ้งเพื่อสนับสนุนการ
ด าเนินงานของกองทุนนั้น ไม่สอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบของกระทรวงพาณิชย์ วิธีการที่กระทรวง
เกษตรฯจะสามารถขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนดังกล่าวได้ ควรน าเสนอในรูปของโครงการแทนและควรเร่ง
ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยง
วันที่ 2 ตุลาคม 2544 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้ง
ที่ 6/2544 วันที่ 17 สิงหาคม 2544 ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้ให้การรับรองเรียบร้อยแล้ว รวม 3 เรื่อง
ได้แก่ รายงานการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สมัยที่ 6 ภาคที่สอง โดยที่ประชุมมีมติรับทราบรายงานการประชุมดังกล่าว ส่วนการขอผ่อนผันการเลี้ยงกุ้ง
กุลาด าระบบปิดในพื้นที่น้ าจืดเฉพาะแห่งให้คงมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ในการระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาด าระบบความเค็มต่ าในพื้นที่น้ าจืดไว้เช่นเดิม
และให้คณะอนุกรรมการประสานการด าเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลี้ยงกุ้งกุลาด าในพื้นที่น้ าจืดศึกษา
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการแก้ไขปัญหา ก าหนดวิธีการจ าแนกเขต (Zoning) การเลี้ยงกุ้งกุลาด าที่ได้ผล
ในทางปฏิบัติ ก าหนดวิธีการและการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งกุลาด าในทิศทางที่ถูกต้อง ตลอดจนศึกษาด้าน
เทคโนโลยี ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจและสังคม และต้นทุนการผลิตที่แท้จริงของการเลี้ยงกุ้ง โดยให้
ด าเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน รวมทั้งให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม