Page 128 -
P. 128

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                            4-5


                           ในช่วงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504-2509) มีนโยบายด้านการเกษตรที่เกียว

                   ข้องกับการเช่าที่ดินในข้อ 7 ดังนี้เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนจากการลงแรงลงทุนของตนโดย
                   ชอบธรรม ป้องกันมิให้เกษตรกรเสียเปรียบในเรื่องการตลาด การเช่าที่ดิน และการกู้เงินเอกชน (ส านักงาน

                   สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ, 2503: 47)

                                  ในปี 2507 กรมพัฒนาที่ดิน ได้ท าการส ารวจความสัมพันธ์ระหว่างการถือครองที่ดินกับ
                   ภาวะการณ์ผลิตของชาวนาใน 5 จังหวัดภาคกลาง คือ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นครนายก ลพบุรี และ

                   นครสวรรค์ ปรากฏว่ามีชาวนาที่ถือครองที่ดินในฐานะผู้เช่าถึงร้อยละ 56 ในจ านวนนี้เป็นผู้เช่าที่นาทั้งหมด โดย
                   ไม่มีที่ดินท ากินเป็นของตนเองร้อยละ 27 และผู้เช่าที่นาบางส่วน คือ มีที่ดินตนเองบางส่วนอีกร้อยละ 29 ต่อมา

                   ในปี 2508 ได้ขยายการวิจัยออกไปอีก 11 จังหวัด คือ จังหวัดพระนคร ธนบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา

                   นครปฐม เพชรบุรี กาญจนบุรี สระบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี และสุพรรณบุรี ซึ่ง ไชยยงค์ ชูชาติ และคณะ (2512) ได้
                   สรุปและให้ข้อเสนอแนะเรื่องการเช่าที่ดินไว้ ว่าสมควรที่จะควบคุมการเช่านาให้มีความเสมอภาค และ

                   ประสิทธิภาพเท่าที่ควรเพื่อเสริมสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นแก่เจ้าของที่ดินและผู้เช่า ซึ่งอาจด าเนินการได้
                   โดยวิธีดังต่อไปนี้ 1) แก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา 2) เช่าที่ดินจากเอกชนมาให้ผู้เช่าได้เช่าช่วง และ 3)

                   เป็นผู้แทนก าหนดมาตรการเช่าที่ดินระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้เช่า

                                  ถึงแม้ว่าจะได้มีข้อเสนอดังกล่าวนี้ก็ตาม แต่สถานการณ์การเช่าที่ดินไม่ได้ลดน้อยลงแต่อย่างใด
                   (อดุล นิยมวิภาต,  2515:  1-6) ได้รายงานว่า ในระหว่างปี 2511-2512 มีผู้เช่าทั้งประเทศรวม 415,195

                   ครอบครัว โดยภาคกลางมีผู้เช่า 201,285 ราย หรือ 40.66ภาคเหนือ 18.25 ภาคใต้ร้อยละ 15.66 และภาค

                   ตะวันออกเฉียงเหนือร้อนละ 2.67
                           วันที่ 14 เมษายน 2513 คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาฉบับใหม่

                   ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้กระทรวงเกษตรส่ง
                   ผู้แทนเข้าไปร่วมพิจารณาในชั้นกรรมการ กฤษฎีกาตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรได้ตั้งเป็นข้อสังเกต

                   ไว้ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี

                           วันที่ 7 กรกฎาคม 2513 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติให้ด าเนินการตามความเห็นของ
                   คณะกรรมการกฤษฎีกา เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. .... ว่าไม่สมควรบังคับให้การเช่านา

                   ต้องท าเป็นหนังสือและจดทะเบียนไว้ในร่างพระราชบัญญัตินี้ และเห็นควรบัญญัติในท านองที่ว่าเมื่อได้มีการเช่า
                   นาแม้มิได้ท าเป็นหนังสือก็ให้อยู่ภายใต้บังคับแห่งร่างพระราชบัญญัตินี้

                           วันที่ 7 พฤษภาคม 2517 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณา

                   การช่วยเหลือชาวนาให้ได้เช่าที่นาเดิมประกอบด้วย รัฐมนตรีประจ าส านักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
                   และเจ้าของเรื่องกรรมการ 4  ท่าน กรรมการและเลขานุการอีก 1  ท่าน เพื่อพิจารณาด าเนินการในเรื่องนี้เป็น

                   การด่วนที่สุดตามที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเสนอ
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133