Page 126 -
P. 126

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                            4-3


                                  การพัฒนาทุ่งรังสิตที่กล่าวมานี้ มีผลกระทบทางด้านสังคมตามมา มีการลงทุนในธุรกิจที่ดินจน

                   มีนายทุนที่ดินและผู้ถือครองที่ดินรายใหญ่จ านวนมาก และดูเหมือนว่าจะเป็นอาชีพที่มั่นคง ดังทรรศนะของ
                   กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ที่ว่า “จากการที่ได้รับพิจารณาอย่างรอบคอบและได้มีโอกาสร่วมในธุรกิจประเภท

                   ต่างๆ ด้วยตนเองแล้ว ข้าพเจ้าได้ข้อสรุปที่ว่ากิจกรรมที่เหมาะสมที่สุดส าหรับขุนนางที่ต้องการยึดอาชีพมาเลี้ยง

                   ชีวิต หรือเพื่อลงทุนนั้นยากที่จะหาอะไรดีไปกว่ากิจการด้านที่ดิน และผลประโยชน์จากที่ดินนั้นจะหาอะไรดีไป
                   กว่าการให้เช่าที่ดินแก่ชาวนาเป็นไม่มี” (ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และคณะ 524: 184-185)

                           วันที่ 17  สิงหาคม 2492  คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเรื่องการขายที่นาให้กรมสหกรณ์และราษฎรผู้ท า
                   นา โดยได้พิจารณาว่าเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ราษฎรผู้ท านา ได้มีที่นาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองโดยกว้างขวาง

                   ยิ่งขึ้น สมควรที่รัฐบาลจะต้องด าเนินการช่วยเหลือ ในที่สุดได้ลงมติว่า บรรดาที่นาที่เป็นของราชพัสดุก็ดี ของ

                   ส านักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็ดี หรือของหน่วยราชการอื่นใดก็ดีที่ได้ให้ราษฎรเช่าท านาอยู่นั้น ให้ผู้
                   ถือกรรมสิทธิ์จัดการโอนขายให้แก่กรมสหกรณ์ไปจัดสหกรณ์เช่าซื้อ เพื่อประโยชน์ของราษฎรผู้ท านาต่อไป หาก

                   ที่นาแปลงใดที่ไม่เหมาะในการที่กรมสหกรณ์จะจัดเป็นรูปสหกรณ์แล้ว ก็ให้ขายให้แก่ชาวนาต่อไปได้โดยวิธีเช่า
                   ซื้อ ทั้งนี้ให้รีบจัดการซื้อขายกันในราคาอันสมควรโดยถือราคาท้องตลาดเป็นมาตรฐาน

                                  ส าหรับที่นาอันเป็นทรัพย์สินของศาสนสมบัตินั้น ให้กระทรวงศึกษาธิการรับไปปรึกษาหารือ

                   กับทางคณะสงฆ์เพื่อจัดการขายท านองเดียวกัน
                                  ข้อมูลจากการส ามะโนเกษตรปี พ.ศ. 2493 พบว่ามีการเช่าที่ดิน จ านวน 365,656 ราย เนื้อที่

                   5,975,000 (กองเศรษฐกิจการเกษตร, 2499: 124)

                           วันที่ 17 ตุลาคม 2493 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2493 ในราชกิจจา
                   นุเบกษา เล่มที่ 67 ตอนที่ 56 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2493

                           วันที่ 13  กุมภาพันธ์ 2494  คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวง ทบวง กรม และหน่วยราชการต่างๆ
                   ระงับการขึ้นค่าเช่านา ค่าเช่าที่ดิน และค่าเช่าอาคาร ที่อยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวง ทบวง กรมและ

                   หน่วยราชการต่างๆ

                           วันที่ 4 พฤษภาคม 2494 ได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่านา
                   พ.ศ. 2493 ในท้องที่บางจังหวัด พ.ศ. 2494 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 68 ตอนที่ 28 ฉบับพิเศษ ลงวันที่

                   4 พฤษภาคม 2494
                           วันที่ 2  กรกฎาคม 2494  คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้เทศบาลขึ้นค่าเช่านา ค่าเช่าที่ดินและค่าเช่า

                   อาคาร โดยมีเหตุผลว่า เทศบาลเป็นองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รายได้ของเทศบาลก็น าไปใช้จ่ายในการ

                   สาธารณูปโภคเพื่อประโยชน์แก่ราษฎรในท้องถิ่นนั้น สมควรที่จะให้เทศบาลเรียกค่าเช่าเพิ่มได้ตามความ
                   เหมาะสม จึงให้ยกเว้นการบังคับตามมติคณะรัฐมนตรี
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131