Page 83 -
P. 83
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
12-28
5) แหล่งเงินทุน ในระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2540 - 2544 ให้ใช้เงินกองทุนที่ดินที่มี
เหลืออยู่ 712.94 ล้านบาท เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาด าเนินการ คาดว่าจะมีเงินคงเหลือประมาณ 127.29
ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการยุติโครงการ หรือเตรียมด าเนินโครงการต่อไป
6) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ แรงงานรับจ้างทางการเกษตร
2. เห็นชอบการจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้ว และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นภายหน้า
จนกว่าคณะรัฐมนตรีจะอนุมัติแผนเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิรูปที่ดิน ระยะที่ 2 (2540-2544)
ส าหรับแผนเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิรูปที่ดิน ระยะที่ 2 (2540 - 2544) เป็นการ
ด าเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี(13 สิงหาคม 2534)เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่ดินท ากินให้แก่แรงงาน
รับจ้างทางการเกษตร โดยได้รับอนุมัติเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (จนถึงปัจจุบัน1,900
ล้านบาท) และดอกผลไปใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิรูปที่ดินในรูปของ “กองทุนที่ดิน” เพื่อเป็น
ฐานรองรับการจัดตั้งธนาคารที่ดินขึ้นเป็นสถาบันการเงินภายใน 5 ปี โดยมอบหมายให้ธนาคารเพื่อ
การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ท าหน้าที่เป็นหน่วยสนับสนุนทางการเงินตามแผนนี้ และให้แยก
บัญชีและการด าเนินงานออกจากการด าเนินงานตามปกติของ ธ.ก.ส. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้
ความช่วยเหลือในด้านการให้กู้เงินแก่แรงงานรับจ้างทางการเกษตรเพื่อน าไปจัดหาที่ดินพัฒนาที่ดิน และ
ประกอบอาชีพเกษตรกรรมของตน ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
วันที่ 18 พฤษภาคม 2542 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
พ.ศ. 2542 ในราชกิจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 39ก
วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งกองทุนร่วมบรรเทา
ความเสียหายทางการเกษตร ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และเพื่อมิให้มีความซ้ าซ้อนในการ
จัดตั้งกองทุนฯ เนื่องจากปัจจุบันมีกองทุนที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือเกษตรกรถึง 24 กองทุน และสามารถ
จัดตั้งกองทุนในเรื่องนี้ให้เป็นระบบ จึงให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่คณะรัฐมนตรีได้
มีมติ (30 มีนาคม 2542) มอบหมายรับเรื่องนี้ไปพิจารณาด าเนินการผนวกเข้ากับโครงการประกันภัยพืชผล
และกองทุนที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อให้เป็นระบบแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
วันที่ 8 มิถุนายน 2542 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
8 ธันวาคม 2541 เรื่อง การเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
(อ.ส.ค.) เฉพาะในเรื่องแนวทางการแปรรูปด้านอุตสาหกรรม (เกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์นมให้ท าข้อตกลง
การจ้างผลิตผลิตภัณฑ์กับพนักงานของ อ.ส.ค. แต่ละโรงงานมีก าหนดระยะเวลา 5 ปี การจัดตั้งบริษัทตาม
พระราชบัญญัติของรัฐวิสาหกิจ การกระจายหุ้นของแต่ละบริษัทให้แก่พนักงาน อ.ส.ค. เกษตร สหกรณ์โค
นม หรือประชาชน รวมทั้งการตลาดผลิตภัณฑ์นมโดยการสรรหาภาคเอกชนมาเป็นผู้จ าหน่ายผลิตภัณฑ์นม
ของ อ.ส.ค. โดยก าหนดเขตการขายเป็น 4 เขต การสรรหาเอกชนรับจัดการด้านการขนส่ง และสรรหา
บริษัทโฆษณาเพื่อด าเนินการด้านโฆษณาและประชาสัมพันธ์) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และ
ให้ด าเนินการต่อไปได้