Page 173 -
P. 173

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                                      13-52



                           วันที่ 23 พฤศจิกายน 2547 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอมาตรการใน

                   การตรวจสอบเพื่อรักษาคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย โดยใช้วิธีการตรวจสอบสายพันธุ์ข้าว (DNA) ซึ่งเป็นการ
                   สุ่มเก็บตัวอย่างแล้วส่งตรวจสอบสายพันธุ์ข้าว (DNA) หากพบว่า คุณภาพข้าวไม่ถูกต้อง จะระงับการส่งออก

                   และให้น าไปปรับปรุงคุณภาพให้ได้มาตรฐานก่อน  จึงจะอนุญาตให้ส่งออกได้ และได้ก าหนดมาตรฐานข้าว

                   หอมปทุมธานี 1 ซึ่งเป็นมาตรฐานแนะน า  เพื่อยกระดับข้าวปทุมธานี 1 ให้สูงกว่าข้าวขาว แต่ต่ ากว่าข้าว
                   หอมมะลิไทย  และจะใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการขยายตลาดข้าวส่งออกของไทย โดยมี 3 ระดับคุณภาพ คือ

                   ข้าวหอมมะลิไทย ข้าวหอมปทุมธานี 1 และข้าวขาว เพื่อให้สอดคล้องกับก าลังซื้อและความต้องการของ
                   แต่ละตลาดรวมทั้งได้ประสานกับกระทรวงมหาดไทยจัดประชุมผู้ว่าราชการจังหวัด

                   ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิไทย 19 จังหวัด  ก าหนดแนวยุทธศาสตร์การ

                   รักษาคุณภาพมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยตั้งแต่ระดับโรงสี  โดยขอความร่วมมือจังหวัดในการก ากับดูแล
                   คุณภาพข้าวหอมมะลิอีกทางหนึ่งด้วย

                           วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547  คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานความ
                   คืบหน้าการระบายแป้งมันส าปะหลังตามโครงการแทรกแซงตลาดมันส าปะหลัง ปี 2547/48 โดยกระทรวง

                   พาณิชย์ได้อนุมัติขายแป้งมันส าปะหลังจ านวนประมาณ  1,136,363.636 ตัน ที่จะได้จากการแปรสภาพ

                   หัวมันสดที่รับจ าน า จ านวน 5 ล้านตัน  ตามโครงการแทรกแซงตลาดมันส าปะหลัง ปี 2547/48 ในราคา
                   ณ หน้าโกดัง (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ให้แก่บริษัท P.S.C.STARCHPRODUCTS CO.,LTD ราคากิโลกรัมละ

                   7.15 บาท ซึ่งการขายแป้งมันฯ ให้แก่บริษัทฯ จะท าให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นเงิน 1,380.68 ล้านบาท เมื่อ

                   เทียบกับการขายตามโครงการฯ ปี 2546/47  ซึ่งขายในราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.94 บาท และสามารถ
                   ประหยัดภาระค่าจ่ายของรัฐ เมื่อเทียบกับการขายแป้งมันฯ ตามโครงการฯ ปี 2546/47 ซึ่งมีค่าใช้จ่ายใน

                   การฝากเก็บรักษาแป้งมันฯ และดอกเบี้ย ในช่วงระยะเวลาการขายประมาณ 6 เดือน นับจากการสิ้นสุดการ

                   รับจ าน าในเดือนเมษายน 2547  เฉลี่ยประมาณเดือนละ17.08 ล้านบาท คิดเป็นเงินรวมถึง 102.45 ล้าน
                   บาท  ในขณะที่แป้งมันฯ ตามโครงการฯ ปี 2547/48 ได้ขายแป้งมันฯ  ล่วงหน้าหมดทั้งจ านวนแล้ว

                   นอกจากนี้ ยังช่วยลดความเสี่ยงในด้านราคาและคุณภาพสินค้าเนื่องจากบริษัทฯ เสนอซื้อแป้งมันฯ หมดทั้ง
                   จ านวนล่วงหน้า และช่วยกระตุ้นตลาดให้มีการแข่งขันรับซื้อหัวมันสดจากเกษตรกร ท าให้ราคาหัวมันสดที่

                   เกษตรกรขายได้สูงขึ้น โดยราคาหัวมันสดในวันที่ 16 พฤศจิกายน  2547 ในบางพื้นที่สูงถึงกิโลกรัมละ

                   1.33 บาท ในขณะที่ช่วงเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ที่กิโลกรัมละ 0.89 บาท
                           วันที่ 30 พฤศจิกายน 2547  คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและให้ด าเนินการต่อไปได้ตามที่กระทรวง

                   พาณิชย์เสนอการเปิดตลาดสินค้าเกษตร  22 รายการ (ใบยาสูบอีก 1 รายการ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ
                   กระทรวงการคลัง) ตามข้อผูกพันภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นไป ตามแนวทางที่ได้

                   ปฏิบัติมาในช่วงปี 2539-2547 โดยให้เป็นไปตามประการกระทรวงพาณิชย์ 4 ฉบับเดิมคือ ฉบับที่ 111 ฉบับที่

                   115 ฉบับที่ 117 และฉบับที่ 143  การก าหนดปริมาณโควตา อัตราภาษีในและนอกโควตาตามข้อผูกพันการ
                   เปิดตลาดในปี 2547  ภายใต้ความตกลงองค์การการค้าโลกรอบอุรุกวัยไปก่อน  และเมื่อมีข้อผูกพันการเปิด
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178