Page 169 -
P. 169
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
13-48
การด าเนินการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคระบาดสัตว์ปีกที่อาจมีการขอรับ และเบิก
จ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคระบาดสัตว์ปีกไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง ให้แล้ว
เสร็จและด าเนินการให้ถูกต้องไปโดยเร็ว
วันที่ 17 สิงหาคม 2547 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานผลการ
ประชุมเกี่ยวกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียม (Premium) สินค้าไก่ปรุงสุก เพื่อชดเชยภาระของรัฐบาลในการให้
ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคระบาดสัตว์ปีก เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2547
โดยที่ประชุมพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้วเห็นว่า ไม่ควรมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว เนื่องจากการ
จัดเก็บค่าธรรมเนียม (Premium) เป็นการเพิ่มต้นทุนและภาระให้แก่ผู้ประกอบการส่งออก รวมทั้ง
ค่าธรรมเนียมที่ได้รับไม่คุ้มกับความเสียหายจากการที่ท าให้ไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาด
ต่างประเทศ เนื่องจากการท าให้ราคาส่งออกสูงขึ้นจะส่งผลให้ปริมาณส่งออกลดลง ประกอบกับประเทศที่มี
การผลิตและส่งออกสินค้าไก่หลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เป็นต้น ภาครัฐได้ให้การ
สนับสนุน (Subsidy) ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ และผู้ส่งออกไก่ เพื่อให้สามารถแข่งขัน
ในตลาดต่างประเทศได้ ดังนั้นประเทศไทยจึงไม่ควรสร้างภาระให้ผู้ส่งออกเพิ่มขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม การ
ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ปรุงสุกให้มากขึ้น กระทรวงพาณิชย์มีมาตรการในด้าน
ตลาดต่างประเทศรองรับอยู่แล้วโดยจะได้ประสานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อให้เป็นไปตามแผนที่
ได้ก าหนดไว้ต่อไป
วันที่ 31 สิงหาคม 2547 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานผลการ
ประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เรื่อง ยุทธศาสตร์ข้าวหอมของไทย เพื่อระดมความเห็นและหาข้อสรุป
เกี่ยวกับทิศทางการผลิต คุณภาพ และการตลาดของข้าวหอมแต่ละชนิด เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2547 โดยมี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุม โดยผลการประชุมสรุปได้ดังนี้ ให้รักษาความเป็น
เอกลักษณ์ของข้าวหอมมะลิไทยที่มีคุณภาพดีที่สุด และราคาแพงที่สุดของไทยเอาไว้ โดยควบคุมมาตรฐาน
การผลิตและการส่งออกอย่างเข้มงวด และประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บรืโภคทั้ง
ภายในประเทศและต่างประเทศ ส าหรับข้าวปทุมธานี 1 ได้มีการก าหนดคุณภาพและมาตรฐานแนะน า เพื่อ
ยกระดับราคาข้าวชนิดนี้ให้สูงกว่าข้าวขาว แต่ต่ ากว่าข้าวหอมมะลิไทย และสามารถส่งออกไปแข่งขันกับ
ประเทศผู้ส่งออกรายอื่นได้ ส่วนข้าวหอมอื่นๆ ยังไม่มีความจ าเป็นต้องด าเนินการ เนื่องจากปริมาณผลผลิต
ไม่มาก และส่วนมากเป็นการจ าหน่ายเพื่อการบริโภคภายในประเทศ นอกจากนี้ ที่ประชุมไม่เห็นด้วยกับการ
ใช้วิธีการตรวจ DNA เพื่อตรวจสอบความแตกต่างระหว่างข้าวหอมมะลิไทยกับข้าวหอมชนิดอื่นๆ เนื่องจาก
เป็นการเพิ่มภาระและค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการค้า และยังเปิดโอกาสให้ประเทศผู้น าเข้าใช้มาตรการ
ดังกล่าวกีดกันการน าเข้าข้าวหอมมะลิจากไทย รวมทั้งควรพิจารณาน าระบบการจดทะเบียนเกษตรกรและ
โรงสี และระบบการจัดการคุณภาพ (Good Agricultural Practice : GAP) หรือระบบ IP (Identity
Preservation) มาใช้ในกระบวนการผลิตและการส่งออกข้าว และขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดที่มี
การผลิตข้าวหอมชนิดต่างๆ ด าเนินมาตรการควบคุมดูแลการผลิตอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ขั้นตอนการก าหนด