Page 17 -
P. 17
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
11-12
(2) ผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม ซึ่งหมายถึง ผู้ที่จบการศึกษาไม่ต่ ากว่า
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่าในประเภทวิชาเกษตรกรรม
(3) บุตรของเกษตรกร ซึ่งหมายถึง บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้
ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ”
ทั้งนี้ บุคคลดังกล่าวต้องไม่มีอาชีพอันมีรายได้ประจ าเพียงพอแก่การยังชีพอยู่แล้ว ไม่มีที่ดินเพื่อ
เกษตรกรรมเป็นของตนเอง และประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ
การปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532 ได้ให้นิยามค าว่า “เกษตรกร” หมายความว่า “ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และ
ให้หมายความรวมถึงบุคคลผู้ยากจน หรือผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม หรือผู้เป็นบุตรของเกษตรกร บรรดา
ซึ่งไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเอง และประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรดังกล่าว” เพื่อให้การปฎิบัติงาน
เกี่ยวกับการพิจารณาผู้ที่จะเป็น “เกษตรกร” เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงจ าเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
วันที่ 25 สิงหาคม 2535 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการโรงงานยางแห่งทีทีอาร์ 20 และ
อนุมัติให้ด าเนินการตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยให้รัฐเป็นผู้ลงทุน และด าเนินการโดย
องค์การสวนยาง ส าหรับงบลงทุนในส่วนที่ขอเป็นเงินทุนหมุนเวียนส าหรับซื้อวัตถุดิบป้อนโรงงาน 9.0 ล้าน
บาท นั้น ให้องค์การสวนยางกู้เงินมาด าเนินการ โดยไม่ให้ด าเนินการในลักษณะการใช้เงินทุนหมุนเวียน
และขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ท าการประเมินผลของโครงการนี้เป็นระยะๆ ให้คณะรัฐมนตรีทราบ
วันที่ 21 ตุลาคม 2535 นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายของรัฐบาล ชุดที่ 50 ต่อ
สภาผู้แทนราษฎร มีข้อความที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรในนโยบายข้อที่ 4 ดังนี้
“4.2 ด้านการเกษตร
รัฐบาลตระหนักว่าการแก้ไขความยากจนของเกษตรกรเป็นงานที่ต้องด าเนินการโดย
เร่งด่วนและเป็นงานที่ต้องด าเนินการหลายด้านด้วยกันจึงได้ก าหนดนโยบายที่จะยกระดับรายได้ของ
เกษตรกรให้สูงขึ้น ดังนี้
4.2.1 จัดตั้งสภาการเกษตรแห่งชาติ โดยเปิดโอกาสให้ตัวแทนเกษตรกรเข้ามา
มีส่วนร่วมกับภาครัฐบาล และธุรกิจภาคเอกชนในการประสานนโยบายการผลิต การแปรสภาพผลผลิต
และการตลาดอย่างเป็นระบบครบวงจร รวมทั้งจะใช้กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการรักษา
เสถียรภาพของราคาผลิตผลการเกษตร
4.2.2 ปรับปรุงระบบการผลิตทางการเกษตรให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และ
สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งภายใน และต่างประเทศ โดยกระจายการผลิตทางการเกษตร
ให้หลากหลายชนิดมากขึ้นโดยเฉพาะสินค้าเกษตรชนิดใหม่ๆที่จะเชื่อมโยงเข้ากับอุตสาหกรรม
การเกษตร ตลอดจนส่งเสริมการท าไร่ท านาสวนผสม การเลี้ยงปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง รวมทั้ง
การท าประมงร่วมกับต่างประเทศ