Page 14 -
P. 14
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
11-9
“5. นโยบายด้านพัฒนาการเกษตร
โดยที่รัฐตระหนักดีว่าภาคการเกษตรเป็นภาคที่มีความส าคัญต่อเศรษฐกิจส่วนรวมและ
ประเทศไทยอยู่ในฐานะที่จะแข่งขันกับต่างประเทศได้ แต่เกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
ยังมีฐานะยากจน เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่สูงมีเทคโนโลยีต่ า ผลผลิตและรายได้จากการขายผลผลิตไม่
แน่นอน รัฐจึงมีนโยบายให้ภาคการเกษตรเป็นยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาประเทศ โดยจะให้ความเอาใจ
ใส่และมีมาตรการในการฟื้นฟูภาคการเกษตรอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ดังนี้
5.1 นโยบายด้านการผลิต
5.1.1 สนับสนุนเกษตรกรให้ปรับโครงสร้างการผลิต รวมทั้งการ
เพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และการประมง ให้เหมาะสมกับสภาพแต่ละพื้นที่และความต้องการของตลาด
5.1.2 ให้ความส าคัญกับการปรับปรุงบ ารุงดินเป็นนโยบายส าคัญใน
การพัฒนาการเกษตร โดยจะเน้นบทบาทของรัฐในการลงทุนเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงบ ารุงดินด้วย
อินทรีย์วัตถุ และปุ๋ยชีวภาพ
5.1.3 จะลงทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวิธีการก าจัด
ศัตรูพืชด้วยวิธีธรรมชาติ และจะส่งเสริม ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวให้แก่เกษตรกรเพื่อให้
เกษตรกรไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีแต่เพียงอย่างเดียว
5.1.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้พันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูง
และมีความต้านทานโรคและศัตรูพืช จัดหาปัจจัยการผลิตรวมทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์และปุ๋ยให้
เกษตรกรตามความจ าเป็นเหมาะสมและทันต่อฤดูกาล ตลอดจนจัดให้มีข้อมูลข่าวสารที่จ าเป็นต่อการ
ผลิตและการตลาด
5.1.5 เน้นขยายสินเชื่อการเกษตรระยะยาว เพื่อสนับสนุนให้
เกษตรกรสามารถฟื้นฟูระบบการเกษตรได้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในการขยายสินเชื่อให้แก่เกษตรกรรายย่อยและยากจน
ภายใต้เงื่อนไขผ่อนปรน
5.1.6 จัดสรรเงินเข้ากองทุนที่ดินเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถช่วยเหลือ
เกษตรกรผู้ไร้ที่ท ากิน ให้มีที่ดินท ากินของตนเองได้อย่างทั่วถึง และมีเป้าหมายที่จะด าเนินการเปลี่ยน
สถานภาพกองทุนที่ดินให้เป็นธนาคารที่ดินต่อไป
5.2 นโยบายด้านการตลาด
5.2.1 พัฒนาระบบตลาดสินค้าเกษตรภายในประเทศ ให้เกษตรมี
โอกาสเลือกในการขายผลผลิตทางการเกษตรโดยไม่ผ่านคนกลางโดยการจัดตั้งตลาดกลางสินค้า
เกษตรในระดับท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง
5.2.2 ดูแลเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ให้ได้รับ
ผลตอบแทนจากการขายผลผลิตในราคาที่เป็นธรรมโดยการแทรกแซงราคาหรือให้มาตรการอื่นใดที่
เหมาะสมกับสภาวะของผลผลิตและสภาวะทางราคา