Page 18 -
P. 18

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                             13




                      การวิเคราะห์ชนิดและการศึกษาตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ

               ตัวอย่างสัตว์ไม่กระดูกสันหลังและปลาที่เก็บรวบรวมได้ จะถูกนํามาทําการ
               ถ่ายรูปและเก็บรักษาด้วยสารละลายฟอร์มาลินเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา

               ประมาณ 3-7  วัน ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวอย่าง จากนั้นเทนํ้ายาเก่าออกและ

               นําไปแช่ให้นํ้าไหลผ่านประมาณ 1  วัน แล้วจึงนําตัวอย่างไปเก็บรักษาด้วย
               สารละลายเอทิลแอลกอฮอล์ 75 เปอร์เซ็นต์


                      ทําการจัดจําแนกชนิดสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง โดยจะใช้คู่มือในการจัด
               จําแนกและเอกสารที่เกี่ยวข้องของ เฉลิมวิไล (2525), จิรประภา (2543),

               Serène and Kumar (1971), Tai and Song (1984), Davie (1992),
               Carpenter and Niem (1998a และ 1998b), Ngoc-Ho et al. (2001), Reid

               (2001), Swennen et al. (2001), Rahayu (2003), Paterson et al. (2004),
               Tan and Clements (2008), Moh and Chong (2009) และ Davie et al.

               (2010)

                      การจําแนกชนิดปลาโดยใช้คู่มือการวิเคราะห์พรรณปลาและเอกสารที่

               เกี่ยวข้องของ Robert (1989), Kottelat et al. (1993), Rainboth (1996),

               Carpenter and Niem (1999a,1999b, 2001a และ 2001b), Allen (2004) ,
               Matsuura and Kimura (2005) และ Nelson (2006)

                      ความหลากชนิดของสัตว์นํ้าในป่ าชายเลนคลองกําพวน

               จังหวัดระนอง

                      สําหรับชนิดของสัตว์นํ้าที่ผู้เขียนได้ทําการสํารวจพบและนํามาจัดทํา
               เป็นหนังสือคู่มือเล่มนี้ ประกอบด้วย สัตว์นํ้าทั้งสิ้นจํานวน 144 ชนิด แบ่งเป็น

               สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จํานวน 65 ชนิด (ไส้เดือนทะเล 1 ชนิด หอยฝาเดียว 27
               ชนิด หอยสองฝา 8 ชนิด เพรียงเจาะไม้ 1 ชนิด แมงดาทะเล 1 ชนิด เพรียงหิน 1
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23