Page 80 -
P. 80

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                          70



                                                       บทที่  7


                                       การคัดเลือกลักษณะรูปรางโค




                          คงจะเคยไดอาน หรือ ไดยินมาบอยครั้งจากการสัมมนาหรือการประชุมนโยบายตาง ๆ เกี่ยวกับการ

                   ปรับปรุงพันธุโคนมของประเทศซึ่งมีวัตถุประสงคหลักเพื่อใหไดแมโคที่มีผลผลิตน้ํานมที่ดี    เลี้ยงงาย  ใน

                   สภาพอากาศรอนชื้น   ทนตอโรคตาง ๆ ในเขตรอน   ซึ่งนักวิชาการดานการปรับปรุงพันธุสัตวก็จะไปศึกษา

                   ถึงพันธุโคนมตาง  ๆ ที่มีอยูในโลกนี้พรอมกับนํามาจัดทําแผนผสมพันธุที่มีความเปนไปไดสูง   เพื่อใหได
                   พันธุโคตามวัตถุประสงค       เมื่อผลิตโคนมตามแผนการผสมพันธุแลวก็ตองมีการทดสอบวาฝูงโคนมที่ได

                   แสดงสมรรถณะการใหผลผลิตเปนอยางไร    เชน  ทดสอบการเจริญเติบโต    ผลผลิตน้ํานม  เปนตน  เมื่อ

                   นํามาวิเคราะหทางสถิติก็จะทราบพอโคและแมโคที่มีพันธุกรรมสูง  ที่สามารถถายทอดไปสูลูกหลานไดดี
                   เพื่อคัดเลือกเก็บไวเปนพอและแมพันธุตอไป      อยางไรก็ตามการรวบรวมขอมูลตาง ๆที่สําคัญแบงออกได

                   เปน  2   กลุมหลัก ไดแก    ขอมูลเกี่ยวกับผลผลิตทั้งการเจริญเติบโตและผลผลิตน้ํานม  และ  ขอมูลเกี่ยวกับ

                   รูปรางลักษณะความแข็งแรงของรางกายสวนตาง  ๆ  ของโคนมซึ่งจะเปนประโยชนในการสนับสนุนใหแม
                   โคมีผลผลิตน้ํานมที่ดี    เลี้ยงงาย   ตามวัตถุประสงคของการปรับปรุงพันธุโคนมตอไป

                   ความสําคัญของการคัดเลือกรูปรางโคนม


                          รูปรางของโคนม ( Body  Conformation ,  Type  Classification )  ปจจุบันมีความสําคัญควบคูไป
                   กับลักษณะผลผลิตน้ํานมของแมโค   เพราะแมโคที่ใหผลผลิตน้ํานมสูงแตมีขาและกีบไมแข็งแรง  หรือ มี

                   เอ็นยึดรั้งเตานมไมแข็งแรงก็จะมีโอกาสเกิดเตานมอักเสบแบบเรื้อรังสูง  เนื่องจากเตานมหยอนทําใหติดเชื้อ

                   เตานมอักเสบไดงายกวา   หรือ  มีปญหาเรื่องกีบเทาไมแข็งแรงก็มีโอกาสที่จะถูกคัดออกจากฝูงเร็วกวาเวลา
                   อันสมควรเปนตน     ซึ่งเกษตรกรโคนมในตางประเทศจึงตองการไมใชแคโคนมที่ผลผลิตสูงเทานั้น   แต

                   ตองการโคนมที่ใหผลผลิตสูงและอยูในฟารมไดนานซึ่งหมายถึงมีรูปลักษณะตาง ๆ สมบูรณแข็งแรงนั่นเอง

                   ดังนั้นสรุปรายละเอียดพอพันธุ ( Sire   Summary )  มักแสดงคาดัชนีชี้วัดคุณลักษณะพอพันธุ (โดยสรุปจาก

                   ลูกสาว )  ไว  2  ประการไดแก   ผลผลิตน้ํานม  และ  รูปรางลักษณะตาง ๆ ( Type  Classification )  อยางไร
                   ก็ตามการถายทอดลักษณะตาง  ๆ  ของรางกายมีคาอัตราพันธุกรรมของหัวขอตาง  ๆ  ไมสูงมากนักแตอยู

                   ระหวาง  0.1 – 0.39   ( Canadian  Holstein 1989 )   ดังนั้นสิ่งแวดลอมตาง ๆ และการจัดการจึงมีผลตอ

                   ลักษณะตาง ๆ เหลานี้มาก        ดังนั้นเกษตรกรจึงตองใหความสําคัญเชนเดียวกัน เชน  อาหาร   ,  การ
                   จัดการฝูงโค   ,  โรงเรือน  ,  พื้นคอก และ สภาพภูมิอากาศ  เปนตน

                   การคัดเลือกลักษณะรูปรางโคนม

                          ตามปกติจะมีการประเมินรูปรางลักษณะสวนตาง  ๆ  ของโคนมเพศเมีย    พรอมกับการเก็บขอมูล

                   ผลผลิตน้ํานม  เพื่อใชในการสรุปเพื่อประเมินพอพันธุ      แตสําหรับการประเมินรูปรางลักษณะของโคนม
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85