Page 7 -
P. 7

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                   ไก่ไข่พันธุ์ AC และ CA ให้ผลผลิตไข่เฉลี่ยปีละ 75 % และ 76 % ตามล�าดับ
            หรือไข่ปีละ 274-277 ฟอง ไข่มีขนาด 56 กรัม ซึ่งผลผลิตดังกล่าวยังต�่ากว่าพันธุ์น�าเข้า ประมาณ
            5 % แต่คุณภาพภายในของไข่ไก่สูงกว่าพันธุ์น�าเข้า ไข่ขาวข้น ไข่แดงใหญ่ น�้าน้อย ผู้บริโภค
            ให้ความเห็นว่ารสชาดอร่อย เหมาะที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยเลี้ยง เพื่อผลิตไข่บริโภค
            ในชนบท ทั้งนี้เพราะไก่ไข่ดังกล่าวเลี้ยงง่ายในสภาพการจัดการดูแลต�่า แม้จะเลี้ยงปล่อยฝูง
            บนพื้นดิน ก็ไข่ดก แข็งแรงและอัตราการตายต�่ามาก จากการทดสอบพันธุ์ร่วมกับเกษตรกร
            รายย่อยในพื้นที่จังหวัด น่าน แพร่ และบุรีรัมย์ พบว่าเกษตรกรมีความพึงพอใจกับไก่ไข่พันธุ์ AC
            และ CA โดยเฉพาะพันธุ์ CA มีขนล�าตัวขาว คอลาย รูปร่างสวยงามแปลกกว่าไก่ไข่พันธุ์อื่นๆ
            ถ้าหากได้มีการส่งเสริมเลี้ยงอย่างกว้างขวาง ก็จะช่วยสร้างอาชีพและรายได้ ใช้วัสดุเกษตร
            ที่ผลิตได้ในท้องถิ่นเป็นอาหารไก่ไข่ เป็นการเพิ่มมูลค่าและลดการสูญเสียเงินตราออก
            นอกท้องถิ่น เป็นการผลิตแบบพอเพียง สุดท้ายเมื่อกระจายการเลี้ยงกว้างขวางมากขึ้น
            ก็จะเป็นการลดการน�าเข้าพันธุ์ได้โดยออ้ม
                   นอกจากไก่ไข่พันธุ์ AC และ CA แล้ว โครงการยังได้วิจัยและพัฒนาพันธุ์ใหม่ BD
            ซึ่งเป็นพันธุ์สังเคราะห์ มีพันธุกรรมบางส่วนมาจากพันธุ์ต่างประเทศ พันธุ์ BD ให้ผลผลิต
            ใกล้เคียงกับพันธุ์น�าเข้า ล�าตัวเล็ก ไข่ดกปีละ 80 % หรือไข่ปีละ 290 ฟอง ไข่ฟองใหญ่
            58-60 กรัม ซึ่งสามารถน�าไปผลิตไข่ไก่ได้ ทั้งในด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรายย่อยทั่วไป




                       กำรขึ้นทะเบียนและรับรองพันธุ์


                   ผลการวิจัยปรับปรุงพันธุ์ไก่ไข่ที่ได้ 4 สายพันธุ์ดังกล่าวข้างต้น เป็นสมบัติและลิขสิทธิ์
            ของส�านักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน , สวก.) แต่พันธุ์ไก่ไข่เป็นสิ่งมีชีวิต
            ไม่สามารถจดลิขสิทธิ์ได้ ทั้งนี้ในโลกยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการจดลิขสิทธิ์พันธุ์สัตว์ แต่เพื่อ
            ให้พันธุ์ไก่ไข่พันธุ์ใหม่ของไทย สามารถน�าไปส่งเสริมให้เกษตรกรและเอกชนที่สนใจ น�าไปผลิต
            และขยายพันธุ์ในเชิงธุรกิจได้ จ�าเป็นจะต้องผ่านขบวนการรับรองพันธุ์จากกรมปศุสัตว์ก่อน
            เพื่อการคุ้มครองพันธุ์และให้เกียรติแก่คณะนักวิจัยและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ให้
            การสนับสนุนทุนการวิจัย ดังนั้นคณะนักวิจัยจึงเสนอมาเพื่อให้กรมปศุสัตว์ ได้โปรดพิจารณา
            ขึ้นทะเบียนพันธุ์ไปก่อนในเบื้องต้น จากนั้นจึงค่อยท�าการรับรองพันธุ์ โดยอาศัยพระราชบัญญัติ”
            ส่งเสริมและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์” ที่กรมปศุสัตว์ก�าลังด�าเนินงานตราพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่
            ยังไม่แล้วเสร็จ


                                                  กำรเลี้ยงไก่ไข่ไทย กรมปศุสัตว์ 5
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12