Page 6 -
P. 6

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




            และ C เลี้ยงง่าย ต้านทานโรคทั่วๆไปของไก่ได้ดี เพราะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมไทยมา
            อย่างยาวนาน การใช้ประโยชน์โดยการน�าพันธุ์ A เพศผู้ผสมข้ามกับพันธุ์ C ได้พันธุ์ไก่ไข่
            เรียกชื่อว่า AC หรือ “ ปศุสัตว์1” ส่วนพ่อAและแม่Cเราเรียกว่าพันธุ์ขยาย (Parent Stock, PS)
                   ส�าหรับพันธุ์หลัก B และ D โครงการได้วิจัยต่อยอดจากสายพันธุ์ A และ C ให้มี
            ความสามารถให้ผลผลิตสูงเทียบเท่าไก่สายพันธุ์ต่างประเทศ เหมาะที่จะเลี้ยงในเชิงอุตสาหกรรม
            คือเป็นไก่ตัวเล็กแต่ไข่ดก กินอาหารน้อยและไข่ฟองใหญ่ สีเปลือกเข้มเป็น ต้านทานโรค
            อัตราการตายต�่า โดยการเพิ่มยีนที่เกี่ยวข้องกับผลผลิตให้มีความถี่สูงขึ้น ส�าหรับการใช้ประโยชน์
            โดยน�าพันธุ์ B เพศผู้ผสมข้ามกับพันธุ์ D ได้พันธุ์ไก่ไข่เรียกชื่อว่า BD หรือ “ ไทยบราว” ส่วน
            พ่อ B และแม่ D เราเรียกว่าพันธุ์ขยาย (Parent Stock, PS)
                   ไก่ไข่พันธุ์ AC และ BDเหมาะที่จะส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยเลี้ยงในชนบท เพราะไข่ดก
            เลี้ยงง่าย ทนทานต่อสภาพการเลี้ยงดูแบบง่ายๆ สามารถใช้อาหารผลิตในท้องถิ่นได้ดี และ
            เสริมด้วยหญ้าสดหรือพืชสดเช่นผักตบชวาเป็นต้น อัตราการตายต�่ากว่า 10 % ต่อปี พันธุ์ AC
            เมื่อปลดระวางตัวจะใหญ่น�้าหนักเฉลี่ย 2,300 กรัม ขายเป็นไก่แกงได้ราคาดี โดยเฉพาะตลาด
            ในชนบท ส่วน BD น�้าหนักตัวเฉลี่ย 1,900 กรัม/ตัว เมื่ออายุปลดระวาง 72 สัปดาห์



                                   ผลกำรวิจัย


                   ผลของการวิจัยตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ พบว่าสามารถปรับปรุงพันธุ์ไก่ไข่
            ที่เป็นต้นพันธุ์ (GGP) พันธุ์หลัก ( GP) และพันธุ์ขยาย(PS) ได้จ�านวน 4 สายพันธุ์ แบ่งออกเป็น
            สายพ่อพันธุ์ (male line) 2 สายคือ Line A และ Line B สายแม่ 2 สายคือ Line C และ
            Line D ทั้ง4 สายมีคุณสมบัติทางพันธุกรรมและผลผลิตแตกต่างกัน แต่เมื่อท�าการผสม
            ข้ามระหว่างสายพ่อและแม่ จะท�าให้ได้พันธุ์ขยาย (PS) ส�าหรับผลิตพันธุ์ไก่ไข่ได้อย่างน้อย
            3 พันธุ์ คือ AC, CA, BD การให้ผลผลิตของ GP หนึ่งแม่สามารถให้ลูกที่เป็น PS ได้จ�านวน
            80-90 ตัวต่อปี PS 1 ตัว ให้ลูกที่เป็นไก่ไข่ได้ 90-100 ตัว นอกจากนี้ GGP และ GP ทั้ง 4 สาย
            ยังมีคุณสมบัติทางพันธุกรรมที่ส�าคัญประการหนึ่งคือ มียีน B21 อยู่ในฝูงไก่ในสัดส่วน 68 %
            ซึ่งค่อนข้างสูง B21 เป็นยีนซึ่งทางวิชาการทราบว่าเกี่ยวเนื่อง กับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคมาเรกซ์
            ในไก่พันธุ์ไข่ และโรคที่มักจะเกิดกับสัตว์ปีกทั่วๆไป ดังนั้นจึงท�าให้ลูกไก่แข็งแรงและเลี้ยงง่าย
            ทนต่อสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น และเลี้ยงได้ดีในโรงเรือนเปิด ปัจจุบันโครงการเก็บสต็อก GGP
            และ GP รวม 4 สาย จ�านวน 696 ตัว ซึ่งมีศักยะภาพผลิตและขยายพันธุ์ ได้อย่างพอเพียงกับ
            ความต้องการของประเทศในอนาคต

        4    กำรเลี้ยงไก่ไข่ไทย กรมปศุสัตว์
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11