Page 7 -
P. 7

ิ
                                  ิ
                               ื
                                               ์
                 โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                             ิ
                                                                 ิ
                         4.5 การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมกับอุตสาหกรรมอาหาร
                         การวิเคราะห์ได้ใช้ 2  ระบบ คือ (1)  ระบบปัจจัยการบริหารจัดการ 5  ประการ คือ การเมือง

                  เงื่อนไขทางสังคม สถาบัน เศรษฐศาสตร์ และวิชาการ และ (2) ระบบ DPSIR ผลการวิเคราะห์พบว่าในด้าน
                  นโยบายของรัฐมีความเชื่อมโยงระหว่างการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมกับอุตสาหกรรมอาหาร แต่ขาดความ
                  เชื่อมโยงในด้านแผนปฏิบัติการ ความเป็นไปได้ในการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมมีโอกาสน้อย เพราะมี
                  ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการบังคับใช้ประโยชน์ในที่ดิน ส่วนอุตสาหกรรมอาหารนั้นมีความเป็นไปได้สูง

                  เนื่องจากมีทั้งนโยบายและแผนปฏิบัติ รวมทั้งงบประมาณของรัฐและการส่งเสริมการลงทุน การสร้างความ
                  เชื่อมโยงจึงต้องแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นล าดับแรก อย่างไรก็ตามเนื่องจากมี
                  การซื้อขายที่ดินเพื่อการเกษตรไปใช้เพื่อกิจกรรมอื่นๆ จ านวนมาก จึงมีความจ าเป็นที่จะต้องมีการคุ้มครอง
                  พื้นที่เกษตรกรรม (รายงานบทที่ 11)


                         4.6 แนวทางการเชื่อมโยงการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมกับอุตสาหกรรมอาหาร
                         เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ได้จัดท าแนวทางการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่เชื่อมโยงกับ
                  อุตสาหกรรมอาหารในภาคตะวันออก มี 8 ประการ คือ (1) การก าหนดเป้าหมายพื้นที่ที่จะคุ้มครอง

                  (2)  การแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในการบังคับใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยการตรากฎหมายขึ้นใหม่ คือ
                  “การซื้อสิทธิในการพัฒนา”  ในลักษณะ “ภาระจ ายอม” (3) การจัดตั้งกองทุนเพื่อซื้อสิทธิในการพัฒนา
                  (4) การจัดตั้ง Food Valley ในภาคตะวันออก (5) การใช้ Soft Power สนับสนุนพื้นที่ที่ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้

                  ทางภูมิศาสตร์และการแปรรูปสินค้า OTOP ในปัจจุบัน (6) จัดท าแผนปฏิบัติการที่เชื่อมโยงระหว่าง
                  “การคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมและการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร” (7) การศึกษาเพื่อหาสมดุลระหว่าง
                  พื้นที่การผลิตวัตถุดิบกับอุตสาหกรรมอาหาร และการศึกษาเรื่องความเป็นไปได้ในการน ามาตรการ “การซื้อ
                  สิทธิในการพัฒนา” ในลักษณะ “ภาระจ ายอม” มาใช้ในประเทศไทย และ (8) การส่งเสริมให้เกษตรกรลงทุน
                  ร่วมกับส านักงานนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (รายงานบทที่ 12)
































                                                             จ
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12