Page 3 -
P. 3
ิ
ิ
ื
ิ
ิ
์
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คำนำ
ค่าความไม่แน่นอนของการวิเคราะห์ เกิดขึ้นได้ในแต่ละขั้นตอนของการวิเคราะห์ ซึ่งมีค่ามากหรือน้อย
ต่างกันในแต่ละห้องปฏิบัติการ ขึ้นอยู่กับวิธีวิเคราะห์ ความละเอยดหรือความสามารถของเครื่องมือที่ใช้
ี
สภาวะแวดล้อมของการวิเคราะห์ รวมไปถึงความสามารถของผู้วิเคราะห์ด้วย ดังนั้น ค่าความไม่แน่นอนจึงเป็นสิ่งที่
ี
บ่งบอกถึงคุณภาพของผลการวิเคราะห์ ว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพยงใด โดยการประเมินค่าความไม่แน่นอน
มีวิธีการคำนวณได้หลายแบบ แต่วิธีที่เป็นที่นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการเป็นแบบ Bottom-up approach ซึ่งขั้นตอน
ที่สำคัญของการประเมินค่าความไม่แน่นอนแบบ Bottom-up approach คือ การพจารณา และรวบรวมแหล่ง
ิ
ของค่าความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นให้ครอบคลุมทุกขั้นตอนของการวิเคราะห์ ซึ่งมีรายละเอยด ขั้นตอน และการ
ี
คำนวณที่ค่อนข้างยุ่งยาก ซับซ้อน ดังนั้น คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำโปรแกรมการคำนวณอย่างง่ายแบบสำเร็จรูป
และคู่มือสำหรับการใช้โปรแกรมประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวิเคราะห์ไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสทั้งหมด
(รายงานในรูป P2O5) และโพแทสเซียมที่ละลายน้ำ (รายงานในรูป K2O) ในปุ๋ยเคมี ตามแนวทางการประเมิน
ค่าความไม่แน่นอนในการวัดแบบ Bottom-up approach โดยมีการอธิบายในแต่ละขั้นตอนการคำนวณ และที่มา
ของตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณอย่างละเอยด และชัดเจน ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการวิเคราะห์จนถึงการรายงานผล
ี
ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
คณะผู้จัดทำ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือคู่มือเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ปุ๋ยเคมี
ื่
ั
หรือผู้สนใจอนๆ สามารถนำโปรแกรมการคำนวณค่าความไม่แน่นอนแบบสำเร็จรูปที่พฒนาขึ้น ไปใช้ให้เกิด
ประโยชน์ หรือนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวิเคราะห์ธาตุอาหารหลัก
ในปุ๋ยเคมีได้อย่างถูกต้องต่อไป
(นางจิราพรรณ ทองหยอด)
ผู้อำนวยการกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
เมษายน 2565