Page 127 -
P. 127
์
ิ
ื
ิ
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
112
ด้านการห้ามซื้อขายหรือห้ามโอนเปลี่ยนมือ ผู้รับจัดที่ดินทราบดีและไม่มีความคิดที่จะขายอยู่แล้ว
เนื่องจากใช้เป็นที่ดินประกอบอาชีพและเก็บไว้ให้ลูกหลาน ผู้ให้สัมภาษณ์รายหนึ่งให้ข้อมูลว่าที่ดินในบริเวณ
ชุมชนนี้ อาจมีการซื้อขายอยู่บ้างแต่เป็นการซื้อขายระหว่างคนในชุมชนเท่านั้น ไม่มีนายทุนหรือคนนอกพน
ื้
ที่มาซื้อ โดยหากเป็นที่ดินที่อยู่ติดกับถนนลาดยางจะซื้อขายกันในราคาไร่ละ 100,000 บาท กรณีพื้นที่ด้านใน
ที่ไม่มีเอกสารสิทธิจะซื้อขายกันในราคา 7 – 8 หมื่นบาท
ด้านการห้ามให้เช่าที่ดิน พบว่าในพื้นที่ยังมีการปล่อยเช่าที่ดินให้กับคนในพื้นที่เพื่อทำการเกษตรอยู่
บ้าง แม้ว่าผู้รับจัดที่ดินจะทราบเงื่อนไขนี้ ค่าเช่าประมาณไร่ละ 300 – 500 บาทต่อปี
การตกทอดทางมรดก ผู้รับจัดที่ดินส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าทายาทผู้รับมรดกต้องมีเพียงรายเดียว บาง
รายต้องการให้ทายาททุกคนได้รับมรดก บางรายไม่มีความกังวลในเรื่องนี้
ผู้รับจัดที่ดินโดยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าที่ดินที่ได้รับการจัดที่ดินนี้มีกำหนดระยะเวลา 30 ปี เมื่อถามว่า
กังวลหรือไม่ว่าเมื่อครบ 30 ปีจะไม่ได้รับการต่ออายุอก ส่วนใหญ่ไม่กังวลเนื่องจากเชื่อว่ารัฐจะให้อยู่ต่ออยู่แล้ว
ี
และคนในชุมชนก็ทำประโยชน์ในพื้นที่นี้มาโดยตลอดแม้ว่าก่อนหน้านี้จะไม่มีเอกสารสิทธิก็ตาม
เมื่อสอบถามถึงค่าตอบแทนในการใช้ที่ดิน ทราบว่าเดิมประชาชนในพื้นที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่และมี
หลักฐาน ภ.บ.ท. 5 แต่ระยะหลังนี้ไม่มีการเรียกเก็บภาษีหรือค่าตอบแทนใด ๆ อีกแล้ว แต่ไม่ทราบว่าสามารถ
ใด แต่หากมีการเก็บค่าตอบแทนก็ไม่ขัดข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเก็บภาษีหรือค่าตอบแทนและให้สามารถ
อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ในที่ดินตลอดไปตราบเท่าที่จะทำประโยชน์ในที่ดินก็จะเป็นการดีเพราะทำให้มั่นใจ
เกี่ยวกับความมั่นคงในการถือครองที่ดิน
5) การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น
ในขั้นตอนการสำรวจรังวัดที่ดินผู้ที่ได้รับจัดที่ดินและที่ดินใกล้เคียงได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบชี้แนว
เขต อย่างไรก็ตาม ผู้ให้สัมภาษณ์รายหนึ่งประสบปัญหาว่าตนเป็นผู้ทำประโยชน์ในที่ดินมามากกว่า 10 ปี โดย
ซื้อที่ดินมาจากผู้ครอบครองรายเดิม แต่เมื่อถึงเวลาตรวจสอบรังวัด ตนไม่ได้รับแจ้งให้ไปร่วมตรวจสอบรังวัด
แต่ผู้ครอบครองรายเดิมกลับอ้างสิทธิในที่ดินดังกล่าวและได้รับการจัดที่ดินนั้น ปัจจุบันตนยังเข้าทำประโยชน์
ในที่ดินดังกล่าวอยู่ แต่เชื่อเป็นของผู้ครอบครองรายเดิม เมื่อไปติดต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้รับ
คำแนะนำว่าให้มาตกลงกันเอง เมื่อตกลงกันได้แล้วให้ไปแจ้งเปลี่ยนแปลงแก่เจ้าหน้าที่
ในด้านการป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่า เมื่อเจ้าหน้าที่มาทำรั้วลวดหนามไว้แล้ว ชุมชนทราบแน่ชัดว่า
พื้นที่ใดเป็นพื้นที่ป่าจึงช่วยกันสอดส่องดูแลได้ง่ายขึ้น ในพื้นที่ยังมีพื้นที่ป่าชุมชน ดังนั้น จึงได้มีคณะกรรมการ
ป่าชุมชนทำหน้าที่บริหารจัดการและดูแลการใช้ประโยชน์ป่าชุมชน นอกจากนี้ แต่ละหมู่บ้านยังมี
คณะกรรมการหมู่บ้าน เมื่อมีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐเข้ามาทำโครงการหรือจัด
กิจกรรมเกี่ยวกับการดูแลรักษาป่า คณะกรรมการหมู่บ้านจะมีบทบาทในการเข้ารับการอบรมและร่วมกิจกรรม
ดังกล่าว
เมื่อสอบถามถึงศักยภาพของคนในชุมชนในการรวมกลุ่มเพื่อบริหารจัดการในชุมชน ทั้งในแง่ของการ
จัดการทรัพยากรของชุมชน และการรวมกลุ่มเพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของเกษตรกร ทราบว่าปัจจุบัน