Page 125 -
P. 125
ื
์
ิ
ิ
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
110
ประชาชนในพื้นที่ ส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยงที่อยู่ในพื้นที่ดั้งเดิม และส่วนหนึ่งเป็น
ประชาชนในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงหรือจากจังหวัดอื่นที่ย้ายมาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้มากกว่า 30 ปีที่ผ่านมา โดย
การซื้อที่ดินจากผู้ถือครองเดิม
2) การประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรายได้
ื
จากการสัมภาษณเชิงลึก เกษตรกรในพื้นที่ คทช. ป่าปลายห้วยกระเสียว คือ ทำการเกษตรปลูกพชไร่
์
โดยเริ่มต้นจากการปลูกข้าวโพด หลังจากนั้นราว 30 กว่าปีที่ผ่านมาจึงเปลี่ยนเป็นการปลูกสับปะรด ซึ่งปัจจุบัน
ยังคงมีการปลูกสับปะรดแทบทุกราย ต่อมาเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา เกษตรกรเริ่มหันมาปลูกยางพารา
แต่ยังคงมีการปลูกสับปะรดกันอยู่อย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นอาชีพดั้งเดิม และเมื่อไม่นานมานี้ ผู้ที่มีเงินทุน
เริ่มหันมาปลูกทุเรียน
การปลูกสับปะรด มีต้นทุนค่าหน่อ ค่าแรง การดูแลรักษา ค่ายา รวมต้นทุนประมาณไร่ละหมื่นกว่า
บาท สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ปีละครั้ง ผลผลิตจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ ซึ่งราคามักขึ้นอยู่กับโรงงาน
หรือพ่อค้าคนกลางซึ่งเป็นราคาที่อ้างอิงมาจากโรงงาน เกษตรกรบางรายให้ข้อมูลว่าสามารถต่อรองราคาได้
หากไม่พอใจก็จะเลือกขายให้ผู้ซื้อรายอื่นหรือพ่อค้าแม่ค้าที่รับไปขายเร่ ด้านรายได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับราคาใน
แต่ละปี สมัยก่อนสามารถขายได้ในราคากิโลกรัมละ 7-8 บาท แต่ช่วงหลังมานี้ราคาไม่เกินกิโลกรัมละ 5 บาท
บางปีราคากิโลกรัมละ 1-2 บาท ซึ่งทำให้เกษตรกรขาดทุน
การปลูกยางพารา เกษตรกรบางรายเริ่มหันมาปลูกยางพาราประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา สาเหตุ
เนื่องจากเห็นว่าลงทุนเพียงครั้งเดียวซึ่งขณะนั้นซื้อต้นพันธุ์ต้นละ 30 บาท และบางส่วนได้รับแจกจากการยาง
แห่งประเทศไทย (เดิมคือสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง) และใส่ปุ๋ยทุกปีปีละประมาณ 5,000 –
6,000 บาท แต่เมื่อต้นยางพารามีอายุประมาณมากกว่า 10 ปีก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในระยะยาว
เกษตรกรเริ่มทยอยแบ่งพื้นที่เพื่อปลูกยางพาราและยังคงปลูกสับปะรดอยู่บางส่วนเพื่อให้มีรายได้หมุนเวียนช่วง
ที่ยางพารายังโตไม่พอที่จะกรีดได้ นอกจากนี้ บางรายให้เหตุผลว่าสาเหตุที่เปลี่ยนเป็นปลูกยางพาราเนื่องจาก
พื้นที่ข้างเคียงปลูกยางพารากันหมดทำให้แดดส่องไม่ถึงไร่สับปะรดซึ่งต้องการแดด ทำให้ตนต้องปรับเปลี่ยน
ตาม การเก็บน้ำยาง สามารถเก็บได้ปีละประมาณ 3-4 เดือน ขายน้ำยางได้ประมาณไร่ละ 1,700 – 3,000
บาทต่อเดือน กรณีที่จ้างกรีดยางมีการแบ่งผลประโยชน์กับผู้รับจ้างกรีดในอัตรา 50:50
การปลูกทุเรียน เกษตรกรให้ข้อมูลว่าในชุมชนเริ่มมีเกษตรกรบางรายหันมาปลูกทุเรียนเนื่องจากมี
รายได้ดี ผู้สัมภาษณ์อ้างว่ามีเกษตรกรรายหนึ่งในพื้นที่ปลูกทุเรียนมากว่า 10 ปี ประมาณ 2-3 ไร่ ล่าสุดทราบ
ว่าสามารถขายผลผลิตได้ต้นละ 10,000 – 20,000 บาท จากการสัมภาษณ์เกษตรกรหลายราย มีความสนใจ
อยากเริ่มปลูกทุเรียนและมีปัญหาด้านต้นทุนในการซื้อพันธุ์และต้นทุนในการขุดสระน้ำหรือขุดบ่อบาดาล
เนื่องจากทุเรียนต้องการน้ำมากและสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ ยังพบว่าเกษตรกรมีการปลูกปาล์มร่วมด้วย และบางรายยังคงแบ่งพื้นที่ปลูกข้าวในบางปี
แต่เป็นเพียงการปลูกไว้กินเองเท่านั้น