Page 115 -
P. 115
ิ
ื
ิ
ิ
ิ
์
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
100
ข้าวโพดและถั่วฝักยาว ซึ่งประสบปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำทำให้ผลผลิตเสียหายและราคาผลผลิตตกต่ำ ทำ
ให้ขาดทุนซ้ำซาก แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรเนื่องจากไม่รู้ว่าจะทำอะไรจึงต้องทำตามประสบการณ์
ที่เคยทำมา
เกษตรกรรายนี้ ให้ข้อมูลว่าตนได้นำสมุดประจำตัวซึ่งเป็นชื่อของพ่อไปติดต่อหน่วยงานของรัฐเพื่อขอ
ติดตั้งหม้อแปลงสำหรับบ้านที่สร้างใหม่ในพื้นที่ คทช. แต่ปรากฏว่าไม่สามารถขอได้ เจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการ
เปลี่ยนแปลงชื่อผู้ที่ได้รับจัดที่ดินเสียก่อน ตนจึงได้ไปติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานตามคำแนะนำ
ของเจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงานที่เข้าพบ เช่น สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ สำนักงานที่ดิน ศาลากลางจังหวัด
เป็นต้น แต่ก็ไม่มีหน่วยงานไหนที่รับเปลี่ยนแปลงให้ โดยได้รับคำแนะนำว่าให้ไปติดต่อสำนักงานอยการเพอตั้ง
ื่
ั
ผู้จัดการมรดกและดำเนินการจัดการมรดกเสียก่อนจึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงเอกสารให้ได้
(จากการสำรวจข้อมูลในพื้นที่พบว่ามีผู้ที่ได้รับจัดที่ดินจำนวนหลายรายที่เสียชีวิต และทายาทไม่ได้
ดำเนินการเปลี่ยนแปลงชื่อทางทะเบียน และไม่ทราบว่าต้องดำเนินการอย่างไร)
กรณีตัวอย่างที่ 10
ผู้ให้สัมภาษณ์เป็นเพศชาย อายุ 71 ปี ได้รับจัดที่ดินจำนวน 2 แปลง ใช้เป็นที่อยู่อาศัยจำนวน 1 แปลง
เนื้อที่ 1 งาน 87 ตารางวา และใช้เพื่อการเกษตรกร จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 11 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา เป็น
อดีตผู้ใหญ่บ้าน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมการเลี้ยงวัวเป็นหลัก เลี้ยงแพะและหมูแต่ยังไม่เคยขาย และเลี้ยง
ไก่งวง ไก่แจ๊ ไก่ต๊อก ห่าน เป็นต้น เกษตรกรรายนี้ ได้ให้มุมมองที่น่าสนใจในฐานะผู้นำหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นทีมา
่
นานว่า การรวมตัวกันของคนในชุมชนเพื่อบริหารจัดการเองเป็นสิ่งที่ทำได้ยากในสังคมที่เป็นอยู่ในชุมชน
เนื่องจากในชุมชนมีปัญหาสังคมค่อนข้างสูง เช่น ปัญหาวัยรุ่น ยาเสพติด ลักเล็กขโมยน้อย เป็นต้น แต่ละคนยัง
ประกอบอาชีพแบบต่างคนต่างอยู่ การที่จะพัฒนาให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นนั้นควรเริ่มพัฒนาด้าน
สังคมก่อนโดยเริ่มต้นจากการอบรมสั่งสอนกันภายในครอบครัว กรณีหากมีปัญหาเกิดขึ้นในพื้นที่ผู้นำชุมชนไม ่
่
สามารถจัดการได้อย่างเด็ดขาดเพราะไม่คอยเชื่อฟัง ดังนั้น การควบคุมกำกับดูแลควรใช้มาตรการทางกฎหมาย
ั
ที่เด็ดขาด โดยมีหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามากำกับติดตามและมีมาตรการบังคบที่มีประสิทธิภาพ
จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่หลากหลาย พบว่าส่วนใหญ่มีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดที่ดิน
และความพึงพอใจในการจัดที่ดินตามนโยบายนี้ในประเด็นที่คล้ายคลึงกัน แต่ในแง่เชิงเศรษฐกิจและการ
ประกอบอาชีพ พบว่ากลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มมีสภาพข้อเท็จจริง ปัญหา และความต้องการการแก้ไขที่ต่างกัน
สรุปได้ดังตารางที่ 7