Page 82 -
P. 82
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
78
ตารางที่ 6.12 ผลการประมาณค่าการส่งผ่านราคาส่งออกข้าวเหนียวไปยังราคาข้าวเหนียวภายในประเทศ (ต่อ)
ตัวแปรอิสระ ค่าสัมประสิทธิ์ S.E.
p - FOB,t-1 0.1988 (0.2636)
p - FOB,t-2 0.3343 (0.2563)
p - FOB,t-3 0.1726 (0.2538)
+
ECT rice,t-1 0.0514 (0.0905)
−
ECT rice,t-1 -0.2758*** (0.0857)
ความยืดหยุ่นระยะยาวกรณีราคาข้าวเหนียวส่งออกเพิ่มขึ้น 0.0880
ความยืดหยุ่นระยะยาวกรณีราคาข้าวเหนียวส่งออกลดลง -0.3408
R 0.4040
2
F-statistic 9.8857***
D-W 2.0189
* **
หมายเหตุ: , และ แสดงระดับนัยสำคัญทางสถิติร้อยละ 10, 5 และ 1 ตามลำดับ
***
ผลการประมาณค่าสัมประสิทธิ์ของสมการส่งผ่านจากราคาส่งออกข้าวเหนียวไปยังราคาข้าวเหนียวใน
ประเทศในตารางที่ 6.11 สามารถใช้แสดงผลกระทบที่มีต่อการปรับตัวของราคาข้าวภายในประเทศอย่างไม่เท่า
เทียมกันในกรณีราคาส่งออกข้าวเหนียวสูงขึ้นกับราคาส่งออกข้าวเหนียวลดลง
จากรูปที่ 6.10 พบว่าถ้าราคาส่งออกข้าวเหนียวปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 1 จะทำให้ราคาข้าวเหนียว
ภายในประเทศในเดือนนั้นลดลงเล็กน้อย คือ -0.0262 ซึ่งไม่ได้มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิจะ
เริ่มปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 0.2579 ในเดือนที่สอง หลังจากนั้นราคาข้าวเหนียวในประเทศจะค่อยๆปรับลดลงจนเข้า
สู่ดุลยภาพในระยะยาวที่ร้อยละ 0.0880 ในเดือนที่ 11 ในทางตรงกันข้ามถ้าราคาส่งออกข้าวเหนียวปรับตัวลดลง
ร้อยละ 1 จะทำให้ราคาเหนียวในประเทศปรับลดลงทันทีร้อยละ -0.1143 และจะลดลงเรื่อยๆจนเข้าสู่ดุลยภาพใน
ระยะยาวโดยมีขนาดการเปลี่ยนแปลงคือร้อยละ -0.3408 โดยใช้เวลาในการปรับตัว 13 เดือน สังเกตได้ว่าการปรับ
เพิ่มขึ้นของราคาส่งออกข้าวเหนียวแทบจะไม่ได้มีผลส่งต่อไปยังราคาข้าวเหนียวภายในประเทศ ในขณะที่ถ้าราคา
ส่งออกข้าวเหนียวปรับลดลงจะส่งผลทำให้ราคาข้าวเหนียวภายในประเทศลดลงได้แต่ก็ไม่มากนัก