Page 26 -
P. 26
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
Theories of Marital and Family Therapy
20
ภารกิจทางจิตวิทยาของคู่สมรส (Psychological Tasks of Couple)
Judith S. Wallerstein (1996) ได้ท าการส ารวจคู่สมรส 50 คู่ ซึ่งแต่งงานกันมาอย่างน้อย 9
่
ปี และมีบุตร คู่สมรสทั้งสองฝายต่างให้ข้อมูลว่ามีความสุขกับชีวิตสมรส การสัมภาษณ์ใช้ทั้งแบบเดี่ยว
และแบบคู่ สรุปได้ว่า ภารกิจทางจิตวิทยาของคู่สมรส (Psychological Tasks of Couple)
มี 9 ประการ คือ
1. การสามารถแยกจากครอบครัวต้นก าเนิดแต่ยังสามารถมีความสัมพันธ์ที่ดีในบทบาทใหม่
่
2. การสร้างอัตลักษณ์ของการใช้ชีวิตคู่แต่ยังคงความเป็นตัวตนของแต่ละฝาย
3. การปรับตัวเรื่องเพศสัมพันธ์ในชีวิตคู่
4. การปรับตัวกับบทบาทการเป็นพ่อแม่ แต่ยังความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคู่สมรส
ั
5. การสามารถเผชิญและจัดการกับปญหาในชีวิตซึ่งต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
6. การสามารถคงความผูกพันของชีวิตคู่แม้ในยามพบอุปสรรค คู่สมรสต่างต้องรู้สึกปลอดภัย
แม้ในเวลาที่จะพูดหรือแสดงถึงความแตกต่าง ความโกรธ และ ความขัดแย้ง
7. การสามารถใช้อารมณ์ขันและการหัวเราะเพื่อคงมุมมองทางบวกและคงความสัมพันธ์ที่
สนุกสนานและน่าสนใจ
8. การดูแลจิตใจและให้ความสบายใจแก่กันและกัน เติมเต็มความต้องการสนับสนุน พึ่งพิง และ
ก าลังใจจากกันและกัน
9. ยังคงมองเห็นคุณลักษณะของคู่ชีวิตที่ตนตกหลุมรักโดยไม่ขัดแย้งกับความเป็นจริงที่
ั
แตกต่างไปในปจจุบัน
รูปแบบของครอบครัว
อุมาพร ตรังคสมบัติ (2541) ได้กล่าวถึงประเภทของครอบครัวที่พบบ่อยไว้ดังนี้
(1) ครอบครัวเดี่ยว (The nuclear family) ประกอบด้วย สามี ภรรยา และลูก
(2) คู่สมรสซึ่งไม่มีบุตร (Childless couples) ประกอบด้วย สามี และภรรยา
(3) ครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่เพียงคนเดียว (One-parent families หรือ Single-parent families) ได้แก่
่
ครอบครัวที่คู่สมรสฝายหนึ่งเสียชีวิต หย่าร้าง ทิ้งร้าง หรือแยกทางกัน และแม่เลี้ยงเดี่ยว
(4) ครอบครัวบุญธรรม (Adoptive family) ประกอบด้วยสามี ภรรยา และบุตรบุญธรรม
่
(5) ครอบครัวที่มีการแต่งงานใหม่ (Reconstituted family) ประกอบด้วยสามี และภรรยา ซึ่งฝายหนึ่ง
่
หรือทั้งสองฝายเป็นหม้าย หรือเคยหย่าร้างมาก่อน
(6) ครอบครัวขยาย (Extended family) ประกอบด้วยเครือญาติตั้งแต่ 3 รุ่นขึ้นไปมีความสัมพันธ์กัน
โดยการเกิดหรือแต่งงาน ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกัน