Page 10 -
P. 10
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
Theories of Marital and Family Therapy
4
Don Jackson และ Jay Haley นักจิตวิทยากลุ่ม Palo Alto ผู้ริเริ่มแนวทาง Communications
family therapy ในช่วงปี 1950 ซึ่งถือเป็นกลุ่มนักบ าบัดและนักวิจัยที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการ
พัฒนาครอบครัวบ าบัดในช่วงทศวรรษ 1950 โดยกลุ่ม Palo Alto แบ่งเป็นสองสาย ได้แก่
่
(1) กลุ่มของ Gregory Bateson ซึ่งท าการศึกษาทฤษฏีการสื่อสารในผู้ปวยจิตเภท
(2) กลุ่ม Mental Research Institute (MRI) ซึ่งก่อตั้งโดย Don Jackson เพื่อมุ่งพัฒนาเทคนิค
วิธีการด้านครอบครัวบ าบัด
งานของกลุ่ม Gregory Bateson
่
ในปี ค.ศ. 1954 กลุ่มของ Bateson ได้รับทุนศึกษาวิจัยการสื่อสารของผู้ปวยจิตเภท
กลุ่มของ Bateson ให้ความสนใจกับการพัฒนาทฤษฏีการสื่อสาร ซึ่งอาจอธิบายที่มาของโรคและ
ั
่
พฤติกรรมของผู้ปวยจิตเภทได้ ในระยะแรกงานของกลุ่มไม่ได้ให้ความส าคัญกับปจจัยด้าน
่
่
ครอบครัวผู้ปวยมากนัก พวกเขาเริ่มสังเกตการณ์ครอบครัวของผู้ปวยโดยหวังว่าจะสามารถเข้าใจ
กลไกการสื่อสารได้มากขึ้น ภายหลังกลุ่มของ Bateson ตั้งสมมติฐานว่าโรคจิตเภทอาจเป็นผลจาก
ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว ที่มีการสื่อสารแบบ Double-Bind message (Bateson, Jackson, Haley, &
Weakland, 1956 อ้างถึงใน อ้างถึงใน Nichols & Schwartz,1994)
กลุ่ม Mental Research Institute (MRI)
่
Don Jackson ที่ปรึกษาของกลุ่ม Bateson และผู้ดูแลการท าจิตบ าบัดให้กับผู้ปวยจิตเภท
เป็นจิตแพทย์อเมริกันผู้เคยฝึกฝนด้านจิตวิเคราะห์ เขาเริ่มสนใจครอบครัวบ าบัดหลังจากได้พบกับ
่
ครอบครัวของผู้ปวยโรคจิตเภท ในการท างานร่วมกับกลุ่มของ Bateson ในปี ค.ศ. 1959 Jackson
ได้ก่อตั้งสถาบัน Mental Research Institute (MRI)
สมาชิกแรกเริ่มของสถาบัน MRI ประกอบด้วย Jackson, Jules Riskin และ Virginia Satir
ต่อมา Jay Haley, John Weakland และ Paul Watzlawick ได้เข้าร่วมในภายหลัง ส่วน Gregory
Bateson ได้เข้าร่วมในฐานะอาจารย์และผู้ร่วมวิจัย
Jackson สนใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และใช้การวิเคราะห์การสื่อสารเป็นอุปกรณ์ส าคัญ
ในกระบวนการบ าบัด Jackson เชื่อว่าการสื่อสารมีความเชื่อมโยงกับพฤติกรรมเช่นเดียวกับ
Bateson Jackson ได้พัฒนาแนวทางการบ าบัดแบบ Family interactional therapy ขึ้นในปี
ค.ศ. 1954 และต่อมาได้เสนอแนวคิด Behavioral (or communicational) redundancy (Jackson,
1965 อ้างถึงใน Nichols & Schwartz, 1994) ซึ่งอธิบายว่าวิธีการที่สมาชิกในครอบครัวกระท าต่อกัน
ั
ั
ก่อให้เกิดรูปแบบซ ้าๆของการปฏิสัมพันธ์ การแก้ไขปญหาจึงต้องปรับเปลี่ยนสิ่งที่ท าให้เกิดปญหา
แนวคิดของเขาน าไปสู่แนวการบ าบัด Behavioral family therapy (หรือ Communicational family
therapy)