Page 71 -
P. 71

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                                                                           68






                            3. Obsessive-Compulsive Disorder (OCD : โรคย้ําคิดย้ําทํา)

                            ลักษณะทางคลินิก
                            อาการย้ําคิด (Obsession)  คือ การที่มีความคิดหรือความรูสึกที่เกิดขึ้นเองซ้ําๆโดยไรเหตุผล

                     ซึ่งกอใหเกิดความกังวลใจความไมสบายใจอยางมาก  และผูปวยรูสึกวาเปนสิ่งแปลกปลอมตอ  ตนเอง

                     (ego-dystonic)

                            อาการย้ําทํา (Compulsion)  คือ  การกระทําอยางมีเปาหมายชัดเจนซ้ําๆเพื่อปองกัน หรือชวย
                     ลดความไมสบายใจ จากความย้ําคิดขางตน และเปนการกระทําที่ไรเหตุผล



                            การวินิจฉัย
                            1.  มีอาการคิดซ้ําๆทําซ้ําๆ  ในลักษณะที่จัดไดวาเปนอาการย้ําคิด  (Obsession)  หรืออาการ

                                ย้ําทํา (Compulsion)

                            2.  ผูปวยรูสึกวาเปนอาการมากเกินควรหรือไรเหตุผล

                            3.  อาการกอใหเกิดปญหากับผูปวยเปนอยางมาก เชน มีอาการมากกวา  1 ชั่วโมงตอวัน หรือ

                                มีผลกระทบตอชีวิตประจําวัน การงาน หรือ ความสัมพันธระหวางบุคคล
                            4.  อาการย้ําคิดย้ําทํา จะตองไมจํากัดอยูเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังเชนใน Trichotillomania

                                หรือ Hypochondriasis



                            สาเหตุ
                         1. ปจจัยทางดานจิตใจ :  ทฤษฎีจิตวิเคราะหมองวา อาการเปนจากการที่ผูปวยใชกลไกทางจิต

                     เพื่อจัดการกับความขัดแยงในระดับจิตไรสํานึก  โดยกลไกทางจิตที่ใชบอย  ไดแก   Isolation  และ

                     undoing
                         2. ปจจัยดานชีวภาพ :  มีความผิดปกติของระดับ 5-HIAA  ซึ่งเปน serotonin   metabolites  ใน

                     CSF  :    สมองสวน frontal  lobe, caudate, cingulum   มีการทํางานเพิ่มมากกวาปกติ และพบวา

                     พันธุกรรมอาจมีสวนเกี่ยวของดวย
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76