Page 3 -
P. 3

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                                                             ค าน า
                                                           จากในสวน



                            มีประโยค ๆ หนึ่ง ที่มักมีคนหยิบยกมาพูดเสมอ ๆ ว่า “คนเรามักมองไม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว
                  จนกว่าจะมีอะไรก็ตามมากระตุ้นและชักจูงให้มองเห็นค่าของสิ่ง ๆ นั้น” ...แล้ววันหนึ่ง...ที่เราเริ่มน าประโยค ๆ นี้มา

                  พิจารณา และหยุด...เพื่อพัก...ไม่ว่าจะด้วยความเหนื่อยล้า หรืออะไรก็ตาม สิ่งที่มองหาจริง ๆ แล้วเป็นเพียงแค่ที่พักพิง
                  ที่คิดว่าดีและปลอดภัยที่สุดส าหรับตัวเอง และนั่น คือสิ่งใกล้ตัวที่เรามองหา  สิ่งแรกที่นึกถึงคือ “บ้าน” บ้านใน
                  ความคิดของข้าพเจ้าคืออะไร...คือบ้านสวน คือบ้านของเราที่อยู่ในสวน เป็นบ้านที่มีสวน มีต้นมะม่วงเยอะแยะมากมาย

                  บ้านแห่งนี้มีชื่อว่า “สวนมะม่วงอาจารย์ประทีป” สวน...ที่มีอาจารย์ประทีปเป็นผู้สร้างมันขึ้นมา และในวันหนึ่งที่ได้
                  กลับมามองสวนแห่งนี้...ด้วยความรักและความสุข จนอยากจะท าให้เกิดเป็นความสนุก พืชพันธุ์ต่างๆที่อยู่ภายในสวน

                  ของพ่อ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ข้าพเจ้าจะหยิบยกมาสร้างสรรค์เป็นพื้นฐานแห่งความรู้ต่อไป



                         ดังกล่าวข้างต้น ด้วยความเคยชินที่ตื่นขึ้นมาก็พบเห็น สภาพแวดล้อมแบบนี้ แบบเดิม ๆ ตั้งแต่เล็กจนโต

                  พ่อเป็นคนปลูก เป็นคนดูแลเอาใจใส่สวน ต้นไม้ทุกต้นโตมาด้วยการดูแลเอาใจใส่เป็นประจ าทุกๆวันของพ่อ ต้นมะม่วง

                  นานาพันธุ์ ไม้ดอก ไม้ประดับอื่น ๆ ที่มองดูก็เป็นเรื่องปกติของคนปลูกต้นไม้  เมื่อวันหนึ่งที่ผู้เขียนเริ่มหันมองรอบตัว
                  เริ่มเห็นความสวยงามของสิ่งแวดล้อมรอบตัว เริ่มมองว่าบ้านของผู้เขียนสวยจัง เริ่มเรียนรู้และอยากจะอยู่ กับสิ่งที่พ่อ

                  สร้างมาอย่างมีความสุข เริ่มมองเห็นคุณค่าจากสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น ต้นไม้แต่ละต้นมีความแตกต่างกัน ใบไม้แต่ละใบก็มี
                  รูปลักษณ์ที่ต่างกัน สีของใบที่ต่างกัน กระทั่งวันหนึ่ง ต้นไม้ต้นหนึ่งในสวนหลังบ้านล้มลง เป็นต้นที่อยู่ในสวนมานาน

                  ผู้เขียนเห็นการเปลี่ยนแปลงของต้น การผลัดใบและออกดอกสวยงามทุกปี จนวันที่ต้นล้มลงทั้งต้นจนรากโผล่ลอย

                  ขึ้นมา สิ่งที่เห็นและรับรู้ว่าต้นสุพรรณิการ์ล้มคือ ความเสียดาย เสียดายต้นไม้ที่ออกดอกสีเหลืองสวยงามทุก ๆ ปีล้มลง
                  พ่อของผู้เขียนเข้าไปตัดล าต้นของมันด้วยเลื่อยมือธรรมดา เลื่อยออกเป็นท่อนๆ สิ่งที่เห็นไม่ใช่เพียงท่อนไม้ แต่เห็น

                  ขุยจากท่อนไม้ที่โดนเลื่อยออกมา เป็นขุยสีเหลือง ซึ่งแก่นของต้นสุพรรณิการ์ก็เป็นสีเหลืองเช่นกัน ความคิดในเรื่องของ

                  สีย้อมผุดขึ้นมาในหัว ลองจับชายเสื้อของตัวเองปาดกับส่วนแกนกลางของต้นสุพรรณิการ์ สีที่ได้ติดเสื้อมาคือ
                  สีเหลืองสดและสวย ความคิดจากค าว่า เสียดาย เริ่มมีทางออก


                         จากจุดแรกเริ่มของต้นสุพรรณิการ์นี้ เป็นแรงบันดาลใจให้คิด ค้นหา ศึกษาและต่อยอด ในหลาย ๆ เรื่องจาก

                  สวนแห่งนี้ เรื่องแรกก็คือ สีย้อมจากธรรมชาติและเส้นใย ซึ่งเพิ่มองค์ความรู้ที่ผู้เขียนสอนรายวิชา 364 115 ศิลปะ
                  สิ่งทอ 1 ด้วย การทดลองลงมือปฏิบัติจริง ลักษณะการวิจัยเพื่อชุมชน และอีกหนึ่งแรงบันดาลใจในการมองหาสิ่ง

                  รอบตัวมาเป็นจุดเริ่มต้นของการท างานคือ นิทรรศการ “พิมพ์จากป่าสงวน” ของศาสตราจารย์ญาณวิทย์ กุญแจทอง

                  ศิลปินผู้ซึ่งสร้างสรรค์งานศิลปะ ภาพพิมพ์ด้วยสีจากธรรมชาติทั้งหมด

                                                                                รองศาสตราจารย์ประภากร สุคนธมณี


                                                                                            1 ธันวาคม พ.ศ.2561   ข
   1   2   3   4   5   6   7   8