Page 177 -
P. 177
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
158 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
4. บทสรุปและข้อเสนอแนะ
จากการวิเคราะห์ผลทดสอบการแยกแยะเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’ และสระ ‘ㅔ[e]’
ของเจ้าของภาษาชาวเกาหลี จากกลุ่มตัวอย่างเจ้าของภาษาชาวเกาหลีเพศชายและ
เพศหญิงทั้งหมด 36 คน ที่มีความหลากหลายทางอายุและอาชีพ ด้วยโปรแกรม
OpenSesame พบว่าโดยรวมแล้วเจ้าของภาษาชาวเกาหลีมีค่าเฉลี่ยความถูกต้องใน
การแยกแยะเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’ คือ 53% และค่าเฉลี่ยความถูกต้องในการแยกแยะเสียง
สระ ‘ㅔ[e]’ คือ 52% ส่วนค่าเฉลี่ยเวลาในการตอบสนองเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’ คือ 2014 ms
หรือประมาณ 2 วินาที และค่าเฉลี่ยเวลาในการตอบสนองเสียงสระ ‘ㅔ[e]’ คือ 1976
ms หรือประมาณ 2 วินาที หากพิจารณาในส่วนของความถูกต้องจะพบว่า ค่าเฉลี่ย
ความถูกต้องในการแยกแยะเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’ และสระ ‘ㅔ[e]’ ของเจ้าของภาษาชาว
เกาหลีนั้นมีค่าเฉลี่ยความถูกต้องเพียงครึ่งหนึ่ง หรือสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
ปัจจุบันเจ้าของภาษาชาวเกาหลีไม่สามารถแยกแยะเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’ และสระ ‘ㅔ[e]’ ได้
อันเนื่องมาจากการออกเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’ และสระ ‘ㅔ[e]’ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาเกาหลี
ของชาวเกาหลีเอง
ในส่วนของค่าเฉลี่ยเวลาในการตอบสนองการแยกแยะเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’ และ
สระ ‘ㅔ[e]’ ที่จ าแนกตามช่วงอายุ พบความแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญคือ ค่าเฉลี่ยเวลา
ในการตอบสนองการแยกแยะเสียง ‘ㅐ[Ɛ]’ และสระ ‘ㅔ[e]’ นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น
3 กลุ่มอย่างชัดเจนคือ กลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยการตอบสนองน้อยที่สุด คือ กลุ่มที่มีอายุตั้งแต่
50 ปีขึ้นไป กลุ่มถัดมาคือ ช่วงอายุ 40-49 ปี และกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยการตอบสนองมาก
ที่สุด คือ กลุ่มที่มีช่วงอายุ 10-19 ปี, 20-29 ปี และ 30-39 ปี หากพิจารณาความแตกต่าง
อย่างมีนัยส าคัญในทางสถิติจะพบว่า กลุ่มเจ้าของภาษาชาวเกาหลีที่มีช่วงอายุตั้งแต่
10-39 ปี มีค่าเฉลี่ยการตอบสนองในการแยกแยะเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’ และสระ ‘ㅔ[e]’ มากกว่าใน
กลุ่มเจ้าของภาษาชาวเกาหลีที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของภาษาเกาหลีและการใช้ภาษาอย่างไม่ถูกต้องของชาว
เกาหลีในปัจจุบัน คือ การออกเสียงสระ ‘ㅐ[Ɛ]’ และสระ ‘ㅔ[e]’ ที่ไม่ถูกต้องชัดเจนนั้น