Page 13 -
P. 13
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(ข)
สถาพร ซึ่งน าตรรกศาสตร์มาวิเคราะห์ประเด็นทางประวัติศาสตร์ได้อย่างกระชับ
ชัดเจน ด้านวัชระ จิรฐิติกาลกิจและศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว เสนอเรื่อง “การวิเคราะห์
องค์ประกอบของความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมของหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวันใน
ทัศนะของนักวิชาชีพหนังสือพิมพ์” ซึ่งเป็นการศึกษาทัศนะเรื่องความรับผิดชอบต่อ
สังคมของผู้มีอาชีพหนังสือพิมพ์ในเชิงปริมาณ
ในเล่มนี้มีบทความทางภาษาศาสตร์ที่หลากหลาย ได้แก่ “ตัวบ่งชี้ทางภาษา
แสดงความลังเลไม่มั่นใจ: ลักษณะทางภาษาที่ใช้จ าแนกค าให้การจริงและเท็จ” ของ
ภัทณิดา โสดาบันและวิโรจน์ อรุณมานะกุล “การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและ
การเขียนเชิงวิเคราะห์ภาษาไทยผ่านนิทานของนักเรียนโรงเรียนต ารวจตระเวนชายแดน
เบ็ตตี้ดูเมน” ของเพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต ผณินทรา ธีรานนท์ ดารินทร อินทับทิม
และพูนพงษ์ งามเกษม “คุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ของค ากริยาแสดง
เหตุการณ์การแยกส่วนภาษาไทย” ของเกียรติ เทพช่วยสุขและกิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา
“การศึกษาวิเคราะห์ค าไทยที่มักเขียนผิด” ของ พลวัฒน์ ไหลมนูและวิโรจน์ อรุณมานะกุล
และ “การศึกษาการแยกแยะเสียงสระㅐ[Ɛ] และㅔ[e] ในเจ้าของภาษาชาวเกาหลี
ด้วยโปรแกรม OpenSesame” ของปพนพัชร์ กอบศิริธีร์วรา นอกจากนี้วารสารยังมี
บทความที่เกี่ยวกับการแปลเรื่อง “Translating Pali Buddhist Texts into English:
Two Example Texts” ของ Peter Freeouf
บทวิจารณ์หนังสือ Boys Love Manga and Beyond: History, Culture, and
Community in Japan ของอรสุธี ชัยทองศรี เป็นงานที่น่าอ่าน ด้วยเป็นการเสนอ
ปรากฏการณ์ Boys Love ที่เป็นความเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่น่าติดตามทั้งใน
ต่างประเทศและประเทศไทยเอง
วารสารฉบับนี้เป็นฉบับสุดท้ายของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการชุดนี้
นับเป็นความภาคภูมิใจที่เราได้มีบทบาทในการสนับสนุนความก้าวหน้าทางวิชาการ
มนุษยศาสตร์ รวมทั้งการยกระดับวารสารเป็นวารสารในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1
การท าวารสารเป็นงานที่ต้องการบุคลากรที่มีคุณภาพ ทั้งความรอบรู้ ความช่างสังเกต