Page 12 -
P. 12

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                               (ก)



                               บรรณาธิการเรียงร้อยถ้อยแถลง


                        วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560)
                 เป็นอีกฉบับหนึ่งที่มีความหลากหลายของวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง


                        บทความเรื่อง “อาหารไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา” ของสุกัญญา สุจฉายาเป็น
                 งานค้นคว้าเรื่องอาหารไทย มีข้อค้นพบที่น่าสนใจว่าอาหารการกินเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏ
                 เป็นขนบของการพรรณนาในวรรณคดีไทย หากจะศึกษาเรื่องอาหารไทยในสมัยอยุธยา
                 กลับต้องไปศึกษาจากการบันทึกของชาวตะวันตก ส่วนเรื่อง “บทละครร าเรื่องอิเหนา

                 ตอนดะระสาแบหลา พระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์:
                 การ ‘ปรุงบท’ และคุณค่า” ของธานีรัตน์ จัตุทะศรี น าผู้อ่านไปสู่ข้อมูลและการวิเคราะห์
                 ผลงานที่ไม่ใคร่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางเรื่องนี้ การวิเคราะห์สรุปวิธีการ “ปรุงบท”
                 จากเรื่องอิเหนาฉบับรัชกาลที่ 2 เพื่อใช้ในการแสดงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อ
                 การศึกษาการดัดแปลงวรรณคดีเพื่อการแสดง นอกจากนี้ยังมีบทความด้านโบราณคดี
                 เรื่อง “จารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์: ศึกษาเปรียบเทียบในด้าน

                 เนื้อหา” ของนิพัทธ์ แย้มเดช ที่นอกจากจะให้ข้อมูลเปรียบเทียบเนื้อหาของจารึกที่
                 ส าคัญทั้งสองหลักแล้ว ยังมีการวิเคราะห์ที่ให้รายละเอียดทางประวัติศาสตร์ที่จะเป็น
                 ประโยชน์ต่อสาขามนุษยศาสตร์อื่นๆ ได้ด้วย

                        ในภาวะปัจจุบันที่สื่ออิเล็กทรอนิกส์มีความส าคัญ วราพรรณ อภิศุภะโชค

                 และศิริพร เลิศไพศาลวงศ์เสนอบทความเรื่อง “คุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ของ
                 ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา” ที่แจกแจงเรื่องเกณฑ์คุณภาพของห้องสมุด ประเด็นที่
                 สื่ออิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลมากในปัจจุบันและส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม นภัสสรณ์
                 วสุวัฒน์คงสินและวิทยา ศักยาภินันท์ศึกษาเรื่อง “การศึกษาการอ้างเหตุผลผิดในชีวิต
                 ประจ าวัน: ศึกษาเฉพาะกรณีความคิดเห็นบนกระดานสนทนาของกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต”

                 เป็นการน าตรรกศาสตร์มาวิเคราะห์ความคิดเห็นบนกระดานสนทนาได้อย่างน่าสนใจ
                 นอกจากนี้วารสารยังมีบทความทางตรรกศาสตร์อีกเรื่องคือ “การศึกษาวิเคราะห์
                 การอ้างเหตุผลกรณีการสร้างความหมายเรื่องก าเนิดประชาธิปไตยไทย” ของนฤพล
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17