Page 159 -
P. 159

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์





              บทคัดย่อ

                       งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีจุดประสงค์สามประการได้แก่  1)  ศึกษาประเภทและลักษณะทาง
              ภาษาศาสตร์ของส�านวนภาษาอังกฤษ  (idioms)  ที่ปรากฏทั่วไปในบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์

              ภาษาอังกฤษในประเทศไทยสองฉบับคือ บางกอก โพสต์และเนชั่น 2) ศึกษาความสามารถในการเข้าใจ
              ส�านวนภาษาอังกฤษดังกล่าวและส�ารวจการรับรู้ของนิสิตในเรื่องความเข้าใจบทความที่มีส�านวนภาษาอังกฤษ

              ปรากฏอยู่ 3) ศึกษาว่าส�านวนภาษาอังกฤษดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อความเข้าใจบทความภาษาอังกฤษหรือไม่
              ผู้เข้าร่วมในงานวิจัยครั้งนี้ได้แก่  นักเรียนเอกวิชาภาษาอังกฤษและนักเรียนจากสาขาวิชาเอกอื่นๆ

              เครื่องมือส�าหรับการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบการอ่านเพื่อความเข้าใจจ�านวนสามชุดและ
              การสัมภาษณ์  วิธีการส�ารวจและวิเคราะห์ข้อมูลของงานชิ้นนี้เป็นเชิงพรรณนาและการตีความจากเนื้อหา

              ของข้อมูลที่รวบรวมได้

                       ผลการศึกษาพบว่า 1) จากการแบ่งประเภทของส�านวนภาษาอังกฤษ (idioms) ด้วยกรอบทฤษฎี

              ทางความหมาย literal idiom ปรากฏมากที่สุดในบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษทั้งสองฉบับ
              (43%) และหากแบ่งประเภทของส�านวนภาษาอังกฤษตามกรอบทฤษฎีเชิงโครงสร้างของส�านวนภาษาอังกฤษ

              พบว่ามี phrasal verb idiom ปรากฏมากที่สุด (40%) 2) เมื่อพิจารณาความสามารถในการเข้าใจส�านวน
              ภาษาอังกฤษของนิสิตและการรับรู้ของนิสิตในการเข้าใจบทความที่มีภาษาอังกฤษปรากฏอยู่  พบว่านิสิต

              เข้าใจบทความที่มี literal idiom ปรากฏอยู่ได้ดีที่สุด เนื่องจากสามารถรู้ความหมายได้จากตัวของส�านวน
              ภาษาอังกฤษนั้นๆ เองได้ดี นอกจากนี้ยังพบว่า นิสิตเข้าใจส�านวนภาษาอังกฤษได้ดีเมื่อมีบริบท โดยเฉพาะ

              เมื่อบริบทนั้นประกอบด้วยค�าศัพท์ที่ง่ายและนิสิตเองก็มีความรู้ในหัวข้อนั้นๆ มาก่อนแล้ว ตามทัศนคติของ
              นิสิต ความเข้าใจเรื่องส�านวนภาษาอังกฤษนั้นไม่ได้มาจากการพิจารณาลักษณะทางภาษาศาสตร์ของส�านวน

              ภาษาอังกฤษ ดังนั้น จึงสรุปเป็นค�าตอบของค�าถามวิจัยข้อที่สามได้ว่า ส�านวนภาษาอังกฤษที่ปรากฏอยู่ใน
              บทบรรณาธิการไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการอ่านและการสร้างความเข้าใจในบทความดังกล่าวเลย



              Introduction

                       English language and English language education has undergone an exponential

              raise  in  demand  owing  to  economic  globalization.  As  Thailand  has  become  actively
              involved in the international market, English has become more and more important in the

              Thai circumstance (Prawat, 2002). As a consequence, it has inf uenced the daily life of Thai
              people. More specif cally, reading skill in English has become important and necessary for

              success in profession, academic studies, and personal development (Alderson, 1989).





                                                          วารสารมนุษยศาสตร์  ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554  151
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164