Page 78 -
P. 78
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
13
การเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารบริเวณรากข้าว
การหายใจของรากข้าว ซึ่งใช้ออกซิเจนจากอากาศเหนือผิวน�้าที่เคลื่อนย้ายลงมาทางช่องอากาศ
ของเนื้อเยื่อใบและล�าต้น ข้าวจึงเป็นพืชที่มีความสามารถในการน�าออกซิเจนจากอากาศเหนือดินมายังบริเวณ
รากของมันเองได้ ซึ่งแตกต่างจากพืชไร่อื่นๆ ดังนั้น ดินที่อยู่รอบผิวรากข้าวหนาประมาณ 5 มิลลิเมตร
ซึ่งเรียกว่าไรโซสะเฟียร์ (rhizosphere) จึงมีลักษณะเป็นดินที่มีออกซิเจนสัมผัสหรือชั้นออกซิไดส์ (oxidised
layer) ชัดเจน ต่างกับดินที่ไม่มีออกซิเจนซึ่งห่างจากผิวรากออกไป ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในดิน
บริเวณผิวรากข้าวจะเหมือนกับดินที่มีชั้นออกซิเจนสัมผัส ส่วนในดินที่ห่างจากผิวรากออกไป การเปลี่ยน
ของธาตุอาหารจะเหมือนกับชั้นดินที่ไม่มีออกซิเจน (ทัศนีย์, 2543) การเคลื่อนที่ของออกซิเจนบริเวณ
รากข้าวโดยผ่านช่องอากาศในแอเรงคิมา (aerenchyma) ออกมา ท�าให้ดินบริเวณรากข้าวมีชั้นที่สัมผัส
กับออกซิเจน จึงเกิดไนทริฟิเคชัน (nitrification) ของแอมโมเนียมไอออน และมีการตกตะกอนของเหล็ก
และแมงกานีสออกไซด์บริเวณรากข้าว (Kögel-Knabner el al., 2010)
14
การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ
บทบาทของจุลินทรีย์ในดินนามีบทบาทมากต่อการเปลี่ยนแปลงในดินนา เช่น การเปลี่ยนแปลง
ของธาตุอาหาร 2 ธาตุ คือไนโตรเจน และก�ามะถัน การศึกษาเป็นจ�านวนมาก เน้นบทบาทของจุลินทรีย์
ต่อการท�าให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Cai et al., 2003, 2005; Conrad and Frenzel,
2002) เมื่อมีการย่อยสลายของอินทรียวัตถุในดินภายใต้สภาพน�้าขัง ท�าให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซ CO
2
และ CH (Kirk, 2004; Kögel-Knabner el al., 2010) สมบัติทางเคมีธรณี เช่น ปริมาณการย่อยสลาย
4
ของอินทรียวัตถุหรือแร่เหล็กก็เป็นผลจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ด้วย ในทางกลับกันจุลินทรีย์มีผลกระทบ
ไม่เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงของสารตั้งต้น แต่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพีเอชดิน รีดอกซ์โพเทนเชียล และ
การเกิดสารเชิงซ้อนของโลหะ การเกิดการดูดซับและปลดปล่อยไอออนบนผิวแร่ดินเหนียว ตลอดจนการ
ละลายและการตกตะกอนของไอออนบนผิวของแร่ดินเหนียวด้วย (Kögel-Knabner el al., 2010)
74 ธรรมชาติของดินนา ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว