Page 20 -
P. 20
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เห็นว่าควรที่จะเก็บข้าวเอาไว้ก่อน หลังจาก
ที่ข้าวล้นตลาด แต่ว่าไม่ทันนึกดูว่าท�าไม
เขาเก็บข้าวไม่ได้ แม้จะมียุ้งฉาง ก็เพราะเขา
ติดหนี้ เหตุที่ติดหนี้ก็คือเสื้อผ้าเหล่านั้น หรือ
กะปิ น�้าปลา หรือแม้กระทั่งข้าวสาร ก็ต้อง
บริโภค ถ้าไม่ได้ไปซื้อที่ตลาดหรือร่วมกันซื้อ
ก็คงเป็นพ่อค้าหรือผู้ที่ซื้อข้าวเป็นผู้น�ามา
อันนี้ก็เป็นจุดที่ท�าให้ข้าวถูก...ข้าวเปลือกถูก
แล้วก็ท�าให้ข้าวสารแพง คือว่าชาวนาท�านา
ไปตลอดปี ก็ต้องบริโภค เมื่อต้องบริโภคก็
ต้องเอาสิ่งของ ต้องไปติดหนี้เขามาส�าหรับ
หาสิ่งของบริโภค แล้วก็เอาเครื่องบริโภค
ก็ได้รับบริการอย่างดีที่สุดจากผู้ที่มาซื้อข้าว
บอกว่าไม่ต้องเอาข้าวมาเดี๋ยวนี้ เวลาได้ผล
แล้วก็จะเอา แต่ว่าเอาสิ่งของมาให้แล้วก็เชื่อ
ของนั้นก็มีราคาแพง เพราะว่าน�ามาถึงที่
ข้าวที่เวลาได้แล้วจะขาย ก็ต้องขายในราคาถูก เพราะว่าเขามักรับถึงที่ อันนี้เป็นปัญหาส�าคัญ ถ้าจะแก้
ปัญหานี้ ก็จะต้องแก้จุดนี้ ต้องแก้ด้วยการรวมกลุ่มเป็นกลุ่มผู้บริโภคเหมือนกัน แล้วก็ไปติดต่อกับกลุ่ม
ผู้ผลิต โดยที่ไปตกลงกันและอาจจะต้องตั้ง หรือไปตกลงกับโรงสีให้แน่ จะได้ไม่ต้องผ่านหลายมือ ถ้าทุกคน
ที่บริโภคข้าวตั้งตัวเป็นกลุ่ม แล้วก็ไปซื้อข้าวเปลือก แล้วไปพยายามสีเองหรือให้ผู้แทนของตัวสี ก็ผ่านมือ
เพียงผู้ที่ผลิต ผู้ที่สี และผู้ที่บริโภค ก็ตัดปัญหาอันนี้ (คนกลาง) ลงไป “
3) พระราชด�ารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อเสด็จพระราชด�าเนินทอดพระเนตร
โครงการโคกภูแล จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2536
“ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปี ประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ เราจะต้องซื้อ
ข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชากรคนไทยไม่ยอม คนไทยต้องมีข้าว แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทยจะ
สู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราต้องปลูก......”
4) กระแสพระราชด�ารัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (2541)
“ข้าวที่ออกเป็นสีลักษณะนี้เป็นข้าวที่มีประโยชน์ อย่างข้าวกล้องคนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยกินกัน
เพราะเห็นว่าเป็นข้าวของคนจน ข้าวกล้องมีประโยชน์ท�าให้ร่างกายแข็งแรง ข้าวขาวเม็ดสวยแต่เขาเอา
ของดีออกไปหมดแล้ว มีคนบอกว่าคนจนกินข้าวกล้อง เรากินข้าวกล้องทุกวัน เรานี่ก็คนจน”
16 พระมิ่งขวัญแห่งข้าวไทย ดิน ธาตุอาหารและปุ๋ยข้าว