Page 49 -
P. 49

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



           42   พันธุศาสตร์ประชากร
                  สำาหรับการปรับปรุงพันธุ์


           หาความถี่ของเซลล์สืบพันธุ์ได้ ดังนี้
                                                               (0)
                                       (n)
           ความถี่ของเซลล์สืบพันธุ์ AB  (g  )  ชั่วที่สมดุล เท่ากับ   g  - d   =  0.23775 - (- 0.00248)
                                       11                      11   0
                                                                       =  0.24023
                                       (n)
           ความถี่ของเซลล์สืบพันธุ์ Ab  (g  )  ชั่วที่สมดุล เท่ากับ   g  + d   =  0.23495 + (- 0.00248)
                                                               (0)
                                       12                      12    0
                                                                       =  0.23247
                                       (n)
           ความถี่ของเซลล์สืบพันธุ์ aB  (g  )  ชั่วที่สมดุล เท่ากับ   g + d   =  0.27045 + (- 0.00248)
                                                               (0)
                                       21                      21    0
                                                                       =  0.26797
                                                               (0)
                                       (n)
           ความถี่ของเซลล์สืบพันธุ์ ab  (g  )  ชั่วที่สมดุล เท่ากับ   g  - d   =  0.25685 - (- 0.00248)
                                       22                      22   0
                                                                       =  0.25933
           เมื่อมีการผสมแบบสุ่มจะได้ความถี่ของจีโนไทป์ในประชากรที่สมดุล ดังนี้


                     พ่อ
              แม่            0.24023 AB       0.23247 Ab        0.26797 aB        0.25933 ab

             0.24023 AB     0.057710 AABB 0.055846 AABb        0.064374 AaBB    0.062300 AaBb
             0.23247 Ab     0.055846 AABb 0.054042 AAbb        0.062295 AaBb 0.060290 Aabb
              0.26797 aB    0.064374 AaBB 0.062295 AaBb        0.071808 aaBB    0.069490 aaBb

             0.25933 ab     0.062300 AaBb 0.060287 Aabb        0.069493 aaBb    0.067250 aabb

           พบว่า ในรุ่นถัดไปจะมีสัดส่วนของความถี่ของจีโนไทป์ทั้ง 9 แบบในสบู่ด�าเมื่อเกิดการผสมแบบสุ่มได้ ดังนี้

                                 0.057710 AABB    0.111692 AABb       0.054042 AAbb
                      Z  =     0.128748 AaBB      0.249190 AaBb       0.120577 Aabb
                        n
                                 0.071808 aaBB     0.138983 aaBb      0.067250 aabb

                  2.  ยีนที่ควบคุมลักษณะอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน (linkage)
                      การเข้าสู่สภาพสมดุลของประชากรแบบนี้จะใช้เวลานานกว่าการเข้าสู่สภาพสมดุล

           ของประชากรที่มียีน 2 ต�าแหน่งอยู่คนละโครโมโซมหรือไม่มี linkage ซึ่งการที่ยีน 2 ต�าแหน่งอยู่ใกล้กันมาก
           การเข้าสู่สภาพสมดุลจะใช้เวลาที่นานขึ้น ส่วนเซลล์สืบพันธุ์ที่สร้างในกรณี linkage ต้องพิจารณา
           จีโนไทป์ AaBb เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดการแลกเปลี่ยนอัลลีล ท�าให้ความถี่ของเซลล์สืบพันธุ์
           เปลี่ยนแปลงไป ส่วนอีก 8 จีโนไทป์จะมีความถี่ที่เหมือนกับแบบไม่มี linkage ซึ่งบริเวณการเกิด linkage

           พบการเรียงตัวของอัลลีล 2 แบบ คือ การที่ยีนเด่น 2 ต�าแหน่งอยู่บนโครโมโซมหนึ่ง และยีนด้อย 2 ต�าแหน่ง
           อยู่บนโครโมโซมหนึ่ง เรียกว่า coupling phase และอีกแบบคือ repulsion phase คือ สภาพที่ยีนเด่น
           ของต�าแหน่งที่หนึ่งอยู่บนโครโมโซมเดียวกับยีนด้อยของยีนอีกต�าแหน่งหนึ่ง  โดยที่ r คือ ค่าของ
           recombination ที่เกิดขึ้นซึ่งค่า r จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 - 0.5 เมื่อค่า r มีค่าเท่ากับ 0.5 หมายความว่า

           ยีนทั้งสองต�าแหน่งอยู่บนโครโมโซมต่างคู่กัน แต่ถ้า r มีค่าเท่ากับ 0 มีความหมายว่า ยีนทั้ง 2 ต�าแหน่ง
           อยู่ชิดกันจนไม่เกิด crossing over
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54