Page 4 -
P. 4
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการผลิต การตลาดไหมอีรี่ของไทยและของโลก
วิเคราะห์ความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานไหมอีรี่ของประเทศไทยในปัจจุบัน ต้นทุนผลตอบแทน และส่วน
เหลื่อมการตลาดของการผลิตไหมอีรี่และผลิตภัณฑ์แปรรูป และวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตไหมอีรี่ในเชิง
พาณิชย์ รวมถึงถอดบทเรียนปัจจัยสู่ความส าเร็จและล้มเหลวของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมอีรี่ เพื่อน าสู่การ
เสนอแนะแนวทางการพัฒนาไหมอีรี่ในระดับต้นน้ าในเชิงอุตสาหกรรม จากการศึกษาพบว่า แรงผลักดันส าคัญ
ที่ท าให้ตลาดไหมเติบโตได้แก่ การเติบโตของอุตสาหกรรมสิ่งทอซึ่งเป็นผู้ใช้ไหมหลัก และปัจจัยที่ท า
อุตสาหกรรมสิ่งทอเติบโตได้แก่ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การสนับสนุนในด้านการผลิตจากภาครัฐ และ
ก าลังซื้อของคนชั้นกลางที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบอีกว่าปัญหาที่ส าคัญของอุตสาหกรรมไหมอีรี่ไทยคือ การ
ขาดแคลนวัตถุดิบไหมอีรี่ ปัญหานี้เกิดขึ้นเนื่องจาก การขนส่งไข่ไหมที่ไม่มีประสิทธิภาพท าให้ไข่ฝ่อและไม่ฝัก
เป็นตัว จ านวนเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมอีรี่มีน้อยและไม่ต่อเนื่อง ปริมาณรังไหมที่ได้มีน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณ
ดักแด้ ท าให้รายได้หลักคือดักแด้ เกษตรกรจึงขาดแรงจูงใจในการเลี้ยงไหมที่ถูกวิธี การขาดแคลนแรงงานใน
การเลี้ยง ขาดการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับตลาดและราคาระหว่างเกษตรกรและโรงงาน เป็นต้น
ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จึงต้องมีการวางแผนของโซ่อุปทานให้เชื่อมโยงข้อมูลด้านการผลิตและการตลาด
ระหว่างเกษตรกรต้นน้ าจนถึงโรงงานปลายน้ า สร้างกลุ่มสมาชิกผู้เลี้ยงไหมอีรี่ในพื้นที่ใกล้เคียง ส่งเสริมพัฒนา
คุณภาพของรังไหม การพัฒนากระบวนการจัดส่งวัตถุดิบ การพัฒนาระบบการรวบรวมรังไหมส่งเสริมการวิจัย
และพัฒนาหาแนวทางการน าดักแด้และไยไหมไปแปรรูปให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น การสร้างบริษัทในรูปของ
กิจการเพื่อสังคม (Social enterprise) เพื่อสร้างแบรนด์ของไหมอีรี่ของไทย โดยมีจุดเน้นที่การเป็นสินค้าออ
แกนิกและช่วยเหลือสังคมชนบท ประเมินศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรและสนับสนุนให้ผลิตตามศักยภาพของ
แต่ละกลุ่ม